วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การป้องกันยาเสพติด : พงศ์ศิริ คำพา

การป้องกันยาเสพติด


ตนเอง



การป้องกันปัญหาสิ่งเสพติดต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนี้ 
  
  การป้องกันตนเอง      1. ไม่ทดลองเสพสิ่งที่รู้ว่ามีภัย เพราะอาจจะทำให้ติดได้ง่าย
     2. เลือกคบเพื่อนที่ดี พยายามหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
     3. รู้จักใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขเองได้ ก็ควรจะปรึกษากับพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้
     4. การสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกเพื่อนชักชวนให้เสพสิ่งเสพติดต้องรู้จักปฏิเสธอย่างนุ่มนวล โดยการชี้แจงผลเสียของสิ่งเสพติดต่อการเรียนและอนาคต การรู้จักปฏิเสธอย่างจริงจังและจิตใจแน่วแน่จะทำให้เพื่อนเกรงใจไม่กล้าชวนอีก 
        ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
          • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
          • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
          • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้ 


          • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
          • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
          • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด หากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่
              
    การป้องกันในครอบครัว  


   
  ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดส่วนใหญ่จะเกิดจากครอบครัวที่แตกแยกมีปัญหา ขาดความรักความอบอุ่น เกิดความว้าเหว่ ขาดที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กๆ หันไปพึ่งยาเสพติดแทน ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความรักความอบอุ่น และพ่อแม่ก็ควรจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลูกๆได้ ทำให้ลูกไม่หันไปพึ่งพายาเสพติด
           ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
           • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
           • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง 

           • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
           • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
  การป้องกันในโรงเรียน 
     ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและอันตรายของสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนให้เพียงพอและสนับสนุนให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมนันทนาการต่างๆและสอนให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  
  การป้องกันชุมชน
       
การป้องกันชุมชนจากปัญหาสิ่งเสพติดทำได้หลายวิธี เช่น
    1. การให้ความรู้ โดยการอบรมแก่ทุกคนในชุมชนให้เห้นโทษหรืออันตรายจากสิ่งเสพติด
    2. เสริมกิจกรรมยามว่าง โดยการส่งเสริมอาชีพแก่ชุมชนยามว่าง เช่น การเย็บเสื้อผ้า การทำรองเท้า เป็นต้น
    3. ตั้งศูนย์รับแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับสิ่งเสพติด เมื่อพบว่ามีการซื้อขายหรือเสพสิ่งเสพติดภายในชุมชน
    4. เข้าร่วมโครงการชุมชนปลอดสิ่งเสพติดต่างๆ ทั้งที่ทางราชการจัดขึ้น และชุมชนคิดริเริ่มขึ้นมาเอง
         ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
           • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
           • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
                *สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258  โทรสาร 02-2468526
                *ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688 
   รัฐบาล  
    1. การให้การศึกษาแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
    2. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอย่างจริงจัง และจัดสรรงบประมาณในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติด
    3. จัดบุคลากรและหน่วยงานในการป้องกันและปราบปรามสิ่งเสพติดให้เพียงพอ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
    4. การบังคับใช้กฏหมายอย่างจริงจัง บางครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนที่ดูแลด้านสิ่งเสพติดก็ปล่อยปละละเลย หรือทำการค้าสิ่งเสพติดเสียเอง ทำให้การปราบปรามไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ทมงวดกับผู้กระทำผิดและลงโทาผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

แนงทางการเลือกอาชีพ : พงศ์ศิริ คำพา

แนงทางการเลือกอาชีพ

เมื่อกล่าวถึงคำว่า "อาชีพ" เชื่อแน่ว่าคนทุกคนจะนึกถึงอาชีพที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจกำลังนึกถึงอาชีพนักบิน นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ แอร์โฮสเตส พนักงานโรมแรม หรือนักการเมือง ขึ้นอยู่กับความคาดหวัง หรือความคิดของแต่ละคน ในที่นี้จะขอสรุปแนวทางการเลือกอาชีพที่เรียกว่า "หลัก 4 ประการ" ซึ่งประกอบด้วย
           ประการแรก ต้องรู้จักตัวเอง โดยดูจากความชอบบุคลิกลักษณะ หรือความถนัดของตนเอง คงไม่มีใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเรา อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเขาก็มีเครื่องมือสำหรับวัดบุคลิกภาพหรือความถนัด ซึ่งปกติงานที่คนเราทำจะเกี่ยวข้องกับข้อมูล (Data) บุคคล (Person) หรือเครื่องมือ (Tool) สำหรับบุคลิกภาพของคนเราจะมีความสัมพันธ์กับอาชีพ ตามทฤษฎีของ John L. Holland บุคลิกภาพจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ แบบจริงจัง (Realistic) แบบยึดระเบียบแบบแผน (Conventional) แบบกล้าเสี่ยง (Enterprising) แบบคิดวิเคราะห์ (Investigative) แบบมีศิลปะ (Artistic) และแบบชอบสังคม (Social)
           ประการที่สอง ต้องรู้จักอาชีพที่มีแนวโน้มเติบโตในอดีต หลายคนมักจะเรียน โดยปราศจากหลักการ ไม่ยึดหรือไม่คำนึงถึงอาชีพที่จะต้องทำในอนาคต ขอเพียงเรียนให้จบหรือเลือกเรียนตาม "กระแสเพื่อน" เพื่อนเรียนอะไรที่สถาบันไหนก็ตามไปเรียนด้วย ซึ่งไม่ใช่หลักการเลือกเรียน  ที่ดี ผู้ที่มีความพร้อมของข้อมูลอาชีพที่ดีมักจะตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิชาคณะหรือสถาบันการศึกษาที่ตนเองได้พิจารณาแล้ว และเมื่อตั้งใจเรียน จนสำเร็จการศึกษาก็มักจะได้งานทำไม่ต้องอยู่ในภาวะตกงานหรือว่างงาน เพราะฉะนั้นในข้อนี้จะขอแนะนำข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในอดีตที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
           ระดับอาชีวศึกษา โดยเฉพาะระดับ ปวส. จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของกำลังคนระดับกลางและระดับสูง ปี 2536-2545 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่าผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาพาณิชยกรรมได้งานทำเฉลี่ยร้อยละ 50.84 ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 48.82 ศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 36.39 คหกรรม ร้อยละ 29.37 และเกษตรกรรม ร้อยละ 25.91
           ระดับอุดมศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) ในการสำรวจภาวะการหางานทำของบัณฑิต ปีสำรวจ 2531-2543 ชี้ให้เห็นถึงสาขาการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีอัตราการมีงานทำ ดังนี้ แพทยศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ร้อยละ 95.27 คหกรรมศาสตร์ ร้อยละ 78.13 วิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 76.81 ศึกษาศาสตร์และการฝึกหัดครู ร้อยละ 76.43 เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์และการประมง ร้อยละ 75.66 สถาปัตยกรรมศาสตร์ ร้อยละ 74.88 การบริหารธุรกิจและพาณิชยการ ร้อยละ 73.26 คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 70.93 มนุษยศาสตร์ ศาสนา และเทววิทยา ร้อยละ 67.60 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ร้อยละ 67.15 การสื่อสารมวลชน และการเอกสาร ร้อยละ 67.12 นิติศาสตร์ ร้อยละ 64.42 สังคมพฤติกรรมศาสตร์ ร้อยละ 63.85 วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ร้อยละ 62.84
           ประการที่สาม  ต้องศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก ด้วยการหมั่นอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ค้นหาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ท รายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการแรงงานโดยประเด็นที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือ อาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจสังคมของโลกและประเทศ สำหรับประเด็นที่กล่าวถึงกันมากในช่วงทศวรรษนี้เห็นจะได้แก่ การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และโดยเฉพาะประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นด้วยและจากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (Logistics) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจด้านการขนส่ง การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง คลังสินค้า การจัดการสินค้า การขนถ่ายสินค้า รวมถึงการทำพิธีการศุลกากร โดย TDRI คาดว่า ในปี 2548-2552 จำนวนผู้ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์ในปี 2548 มีจำนวน 240,850 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 272,329 คน ในปี 2552 และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาแล้ว พบว่าในระดับอาชีวศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ สาขาวิชาในระดับปริญญาตรีจะอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์ ด้านภาษาประกอบด้วยภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส สังคมศาสตร์ พาณิชยการและกฎหมาย วิทยาศาสตร์ในสาขาคณิตศาสตร์และสถิติ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การบินและอากาศยาน เรือ ยานยนต์และขนส่ง สำหรับความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความต้องการจำแนกตามกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
          1. การจัดซื้อและเจรจาต่อรอง  ต้องการบุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดซื้อและกระบวนการ ระดับทักษะที่ต้องมีคือ การใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง
          2. การจัดการขนส่ง ต้องการบุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดตารางเวลาและรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับถนนและเส้นทางการขนส่ง การขับรถอย่างปลอดภัย ความรู้เกี่ยวกับสินค้า กฎระเบียบด้านความปลอดภัย กฎหมายการขนย้ายสินค้าและมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร การจัดการอุปกรณ์และบุคลากร การจัดลำดับความสำคัญของงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การเข้าใจและทำตามคำสั่งได้ รวมทั้งการให้บริการลูกค้า
          3. การจัดการด้านส่งออกและนำเข้า ต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร การวิเคราะห์และวางแผนงาน
          4. การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ต้องการบุคลาการที่มีความรู้พื้นฐานในการดูแลระบบสินค้าคงคลังและกระบวนการของสินค้าคงคลัง ความรู้เกี่ยวกับสินค้า กฎหมายและความปลอดภัย ส่วนทักษะที่ต้องมีคือ การใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร
          5. การตลาดและการให้บริการลูกค้า ต้องการบุคลาการที่มีความรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์และการบริการ ความรู้พื้นฐานด้านบัญชี กฎหมายการค้าการลงทุน และความรู้เกี่ยวกับการประกันสินค้า
          6. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคลังสินค้าและระบบสินค้าคงคลัง กระบวนการและการวางแผนวัตถุดิบ ความรู้เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีและการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า
ส่วนทักษะที่บุคลากรจำเป็นต้องมีคือ การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน     การแก้ไขปัญหา การติดต่อและการนำเสนอ การประสานงาน ภาษาและการสื่อสาร การใช้กลยุทธ์และการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร รวมทั้งการจัดการด้านทุน
           ประการที่สี่  ต้องทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ  ข้อนี้มีหลักการง่ายๆ คือ "การจะเลือกประกอบอาชีพใด ควรดูจากรายได้ของประเทศว่ามาจากภาคเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมใด การจะเลือกประกอบอาชีพใดให้ดูจากรายได้หรือค่าตอบแทนแรงงานในอาชีพนั้น" แน่นอนว่าทุกคนหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบ้าน มีรถและมีเงินทองสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่จึงควรติดตามและสังเกตุอาชีพรอบตัวที่พบเห็นในสังคม มีวิธีการอยู่วิธีการหนึ่ง เรียกว่า "การวิจัยอาชีพ" โดยผู้ที่สนใจที่จะประกอบอาชีพใดให้ทำการวิจัยด้วยการสำรวจอาชีพที่เราสนใจหรืออาชีพที่เราใฝ่ฝันไว้ และสอบถามจาก ผู้รู้ (Key Person) 3 คน คือ นายจ้าง ผู้ประกอบอาชีพนั้นอยู่และหน่วยงานผลิตกำลังคนหรือสถาบันการศึกษา ที่ออกแบบหลักสูตรการศึกษาต่างๆ เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีข้อมูลและทราบแนวโน้มสถานการณ์ สภาพการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เราสนใจ เมื่อเราเก็บรวบรวมข้อมุลได้แล้วจึงนำมาสังเคราะห์และสรุปเพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจว่าเหมาะสมที่เราจะเรียนต่อในสาขาวิชานั้นๆ หรือไม่
           กล่าวโดยสรุป หลัก 4 ประการสำหรับเป็นแนวทางเลือกประกอบอาชีพเริ่มจาก ต้องรู้จักตนเอง ต้องรู้จักอาชีพที่มีแนวโน้มเติบโตในอดีต ต้องศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก และต้องทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ดังนั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง คนหางาน รวมทั้งผู้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานทุกคนจะมีข้อมูลสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกเรียน สมัครงานและได้งานทำในอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองตามที่ได้ใฝ่ฝันตั้งใจเอาไว้

การจัดรูปแบบเอกสาร : พงศ์ศิริ คำพา

     การจัดรูปแบบเอกสาร
                                การจัดรูปแบบของเอกสาร HTML โดยโปรแกรม notepad จะไม่เหมือนกับการจัดในเอกสารอื่นๆ เช่น เอกสาร Microsoft word คือ เมื่อต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ในเอกสาร Microsoft word จะใช้ ปุ่ม Enter แต่ในเอกสาร HTML การใช้โปรแกรม notepad เมื่อใช้ปุ่ม Enter ข้อความในเอกสารก็จะเรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ  ไม่ทำการขึ้นบรรทัดใหม่ให้ เนื่องจากภาษา HTML ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าจะมีการขึ้นบรรทัดใหม่ ดังนั้น จึงต้องมีคำสั่งสำหรับสั่งการให้ขึ้นบรรทัดใหม่ จะให้ผลเสมือนการกด Enter บนคีย์บอร์ด ของเอกสาร Microsoft word ทั่วไป
                                ในการจัดย่อหน้า และการเว้นวรรคก็ตามในภาษา HTML เช่นเดียวกัน จำเป็นต้องมีคำสั่งสำหรับการจัดรูปแบบเอกสาร HTML ด้วย เช่น การสั่งให้มีการเว้นวรรคของข้อความ ภาษา HTML จะสามารถรับรู้การเว้นวรรคได้เพียง 1 วรรคเท่านั้น   เพื่อให้การจัดรูปแบบเอกสาร HTML เรียบร้อย เป็นระเบียบและสวยงาม จึงจำเป็นในการเรียนรู้คำสั่งสำหรับการจัดรูปแบบหน้าเอกสาร
---------------------------------------------------------------    
                คำสั่งการจัดรูปแบบเอกสาร
                               1. คำสั่งกำหนดลักษณะหัวเรื่อง (Heading: <Hn>.....</Hn>
<Hn>....Heading Text ... </Hn>
                                                ข้อความลักษณะหัวเรื่อง จะกำกับด้วยแท็ก <Hn> โดย
                                                    คือตัวเลขแสดงขนาดของตัวอักษร ค่าของ นั้นจะมีค่าอยู่ที่ 1 - 6
                o    n = 1 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องใหญ่สุด
                o    n = 6 จะมีขนาดตัวอักษรหัวเรื่องเล็กสุด
        o    สามารถเพิ่ม/ลดขนาดโดขอบคุณแหล่งที่มายใช้เครื่องหมาย หรือ นำหน้าตัวเลขได้ เช่น -1 หรือ +5 เป็นต้น
                                        ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
     <TITLE>การกำหนด Heading</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
     Computer - Default Size
     <H1>Computer - H1</H1>
     <H2>Computer - H2</H2>
     <H3>Computer - H3</H3>
     <H4>Computer - H4</H4>
     <H5>Computer - H5</H5>
     <H6>Computer - H6</H6>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
Computer - Default Size

Computer - H1

Computer - H2

Computer - H3

Computer - H4

Computer - H5
Computer - H6
---------------------------------------------------------------
                            2. การขึ้นบรรทัดใหม่ : <BR>
<BR>
                 โดยปกติแล้ว ภาษา HTML จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าจะมีการขึ้นบรรทัดใหม่ ดังนั้นถ้าเราต้องการ ให้เกิดการขึ้นบรรทัดใหม่ บนเว็บเพจ เราจะต้องคำสั่ง <BR>
                                  คำสั่ง < BR > เป็นคำสั่งที่กำหนดจุดสิ้นสุดของบรรทัด (break rule) แล้วทำการขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อแสดงข้อความส่วนที่เหลือในบรรทัดถัดไป คำสั่งนี้จึงให้ผลเสมือนการกดคีย์ ENTER บนคีย์บอร์ดนั่นเอง                                       ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
     <TITLE>การการขึ้นบรรทัดใหม่  : <BR></TITLE>
</HEAD>
<BODY>
     Computer Education 01 <BR>
     Computer Education 02
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
Computer Education 01
Computer Education 02
                            ข้อสังเกต
                                        คำสั่ง <BR> ส่วนใหญ่มักนิยมจะวางไว้ในตำแหน่งสุดท้ายของประโยค โดยต้องการให้แสดงผลประโยคใหม่ในบรรทัดต่อมา คำสั่ง <BR> จะเป็นคำสั่ง     ที่ไม่ ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag)
---------------------------------------------------------------
                             3. กำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผล : <P ALIGN = "LEFT/RIGHT/CENTER">.........</P>
<P ALIGN="LEFT/RIGHT/CENTER">..........</P>
                                เป็นคำสั่งที่ทำการจัดตำแหน่งของการแสดงผลทางจอภาพ การที่จะแสดงตำแหน่งต่างๆ นั้นจะต้องอยู่ระหว่างคำสั่ง <P ALIGN="LEFT/RIGHT/CENTER">และปิดด้วย </P> ซึ่งการที่จะให้ข้อความหรือรูปภาพอยู่ชิดซ้าย กึ่งกลางและชิดขวานั้น จะต้องมีคุณสมบัติการจัดตำแหน่งของการแสดงผลดังนี้
                                ·         align = "left" การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ทางซ้าย
                                ·         align = "right" การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ทางขวา
                                ·         align = "center" การกำหนดค่าของการจัดตำแหน่งการแสดงผลอยู่ตรงกลาง 
                ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
<HTML>
<HEAD>
     <TITLE> การจัดตำแหน่งการแสดงผล  : <P> </TITLE>
</HEAD>
<BODY>  
<P ALIGN = "LEFT" > Computer Education </P>
<P ALIGN = "CENTER" > Computer Education </P>
<P ALIGN = "RIGHT" > Computer Education </P>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
Computer Education
Computer Education
Computer Education
                                    ข้อสังเกต
                                        ·  ตำแหน่งการแสดงผลนั้นจะมีการแสดงผลชิดซ้ายทุกครั้งถ้าเราไม่มีการกำหนดค่าของการแสดงผล การจัดตำแหน่งการแสดงผลข้อความหรือรูปภาพให้อยู่กึ่งกลางของจอภาพนั้น เราสามารถกำหนดด้วยคำว่า CENTER เป็นคำสั่งได้เลยโดยเราจะเขียนคำสั่งดังนี้ < CENTER >..........< /CENTER >
---------------------------------------------------------------
                      4. คำสั่งสำหรับจัดข้อความให้อยู่กึ่งกลางบรรทัด : <Center>.....</Center>
<CENTER>ข้อมูลที่ต้องการจัดตำแหน่ง</CENTER>
                                   ปกติข้อมูลในเว็บเพจจะปรากฏชิดซ้าย แต่ด้วยการใช้ <Center> จะทำให้ข้อมูลปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของหน้าเว็บเพจได้ โดยถ้าเราเปลี่ยนแปลงขนาดของบราวเซอร์ ข้อมูลที่ถูกกำหนดให้อยู่กึ่งกลางหน้าก็จะถูกจัดตำแหน่งใหม่ให้อยู่กึ่งกลางหน้าของเว็บเพจที่ขนาดใหม่เช่นเดิม
                                    การใช้งาน <CENTER> มีตัวอย่างดังนี้
<HTML>
<HEAD>
     <TITLE> จัดข้อความให้อยู่กึ่งกลางบรรทัด  : <BR></TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<CENTER>
การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML <BR>
 ขอให้นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียนนะครับ ^^
</CENTER>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML
ขอให้นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียนนะครับ ^^


---------------------------------------------------------------
                        5. คำสั่งสำหรับจัดแบบเอกสารตามที่กำหนด : <PRE>......</PRE>
<PRE>......................</PRE>

                                      เป็นการกำหนดตำแหน่งการแสดงผลตามรูปแบบที่เราได้ทำการจัดในไฟล์ต้นฉบับ โดยในคำสั่งนี้เราสามารถจัดตำแหน่งที่เราต้องการให้แสดงผล โดยเรากำหนดด้วยคำสั่ง <PRE> แล้วปิด </PRE> จะทำให้เราสามารถกำหนดตำแหน่งการแสดงผลได้ แต่ถ้าเรากำหนดด้วย <P ALING="LEFT / RIGHT / CENTER"> การแสดงผลก็จะอยู่แค่ชิดซ้าย กึ่งกลาง และชิดขวาเท่านั้น มักจะใช้คำสั่งนี้ในกรณีที่นำข้อมูลจาก NotePad หรือ Text Editor อื่นๆ มาแสดงผล โดยไม่ต้องการให้เสียรูปแบบเดิม ซึ่งจะต้องกำหนดให้ใส่แท็ก Pre กำกับหัวท้ายของข้อมูลนั้นๆ แล้วจึง Copy มา Paste ในเอกสาร HTML

                                        ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

<HTML>
<HEAD>
     <TITLE> คำสั่งสำหรับจัดแบบเอกสารตามที่ต้องการ </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<PRE>
ตัวอย่าง ทดสอบการพิมพ์โดยการเว้นวรรคตามต้องการด้วยแท็ก PRE
รายรับ
                ขายของ  2000  บาท
                ดอกเบี้ย  3000  บาท
รายจ่าย
                ค่าน้ำ       5000  บาท
                ค่าไฟ      8000  บาท
</PRE>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
ตัวอย่าง ทดสอบการพิมพ์โดยการเว้นวรรคตามต้องการด้วยแท็ก PRE
รายรับ
 ขายของ 2000  บาท
 ดอกเบี้ย 3000  บาท
รายจ่าย
 ค่าน้ำ 5000  บาท
 ค่าไฟ 8000  บาท

---------------------------------------------------------------

                        6.คำสั่งตีเส้นบรรทัดหรือเส้นคั่นแนวนอน : <HR> 
<HR>
                เป็นคำสั่งที่แสดงเส้นขีดคั่นทางแนวนอน (horizontal rule) โดยอาจใช้เป็นเส้นแบ่งเนื้อหาระหว่างบท หรือเป็นเส้นขีดคั่นเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบของเนื้อหา เป็นการกำหนดเส้นคั่นซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag) แท็กนี้จะมี Attriube หลายตัว เช่น 
                                <hr width="ความยาวของเส้น มีหน่วยเป็น Pixel หรือ ก็ได้">
                                        <hr width="60">
                                        <hr width="20%">
                                        <hr width="60%">
                                <hr width="n" align="LEFT/RIGHT/CENTER" size="n" noshade color="สี">
                ·       ALIGN - การจัดวางตำแหน่งของเส้น
                ·       SIZE - การกำหนดขนาดความหนาของเส้น และสามารถกำหนดได้เพียงแบบเดียวคือ pixel
                ·       NOSHADE - ไม่ต้องแสดงเป็นแบบ มิติ
                ·       COLOR - การระบุสีของเส้น แสดงผลเฉพาะบน IE 
                      ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

<HTML>
<HEAD>
     <TITLE> คำสั่งตีเส้นบรรทัดหรือเส้นคั่นแนวนอน  : <BR></TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<CENTER>
โรงเรียนเลยพิทยาคม  <BR>
โรงเรียนเมืองเลย <BR>
โรงเรียนอนุบาลเลย <BR>
<HR>
<HR Width = "50%" Align ="Center" Size="4" Color="Red">
</CENTER>
</BODY>
</HTML>
                                       ผลลัพธ์

---------------------------------------------------------------
                    คำสั่งเพิ่มเติมในการจัดรูปแบบเอกสารเว็บ
                               1. การย่อหน้าใหม่ (Paragraph Tag)
<P>
                                                                    คำสั่ง < P > เป็นคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นย่อหน้าใหม่ (paragraph)
                                     ข้อสังเกต    จะเห็นได้ว่าการขึ้นบรรทัดใหม่ของคำสั่ง < BR > และ < P > นั้น การเว้นว่างระหว่างบรรทัดของทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยที่คำสั่ง < BR > ช่องว่างระหว่างบรรทัดจะน้อยกว่าคำสั่ง < P >
                2. คำสั่งการเว้นวรรค
&nbsp;

                       &nbsp; (Non Breaking Space) เป็นคำสั่งช่วยให้เว้นวรรคระหว่างข้อความ เพราะปกติเบราเซอร์จะแสดงช่องว่างจากการเคาะ Space Bar เพียงช่องเดียว แม้นว่าผู้สร้างจะเคาะไปหลายครั้งก็ตาม

ความคิดเห็น
คุณไม่มีสิทธิ์เพิ่มความคิดเห็นhttps://sites.google.com/site/cirayus/sux-kar-reiyn-ru/4-kar-cad-rup-baeb-xeksar