วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติอยุธยาตอนปลาย : พงศ์ศิริ คำพา

ประวัติอยุธยาตอนปลาย

ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

0
วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
.+**+. ประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย .+**+.
สมัยกรุงศรีอยุธยาตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถึงเสียกรุงครั้งที่ 2 รวม 35 ปี
หลังจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว บ้านเมืองวุ่นวายแต่พอถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บ้านเมืองก็สงบลงแต่ยังมีการแก่งแย่งอำนาจกันจนทำให้เสียกรุงครั้งที่สองหลังสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 9 ปี
นาฏวรรณคดีเป็นวรรณคดีบทละครรุ่งเรืองมากในสมัยบรมโกศ วรรณคดีประเภทกาพย์และกลอนได้รับความนิยมมากที่สุด เช่นกลอนบทละคร กลอนเพลงยาว กาพย์เห่เรือ กาพย์ห่อโคลง โดยเฉพาะกาพย์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรหรือเจ้าฟ้ากุ้งได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ไพเราะอย่างยิ่ง
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ชื่อเดิมชื่อ เจ้าฟ้าพร เป็นพระบัณฑูรน้อยในสมัยสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ผู้เป็นพระราชบิดา และเป็นน้องของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระสวรรคต เจ้าฟ้าอภัย โอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระได้เสวยราชสมบัติ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไม่ยินยอม จึงรบกันและประหารชีวิตเจ้าฟ้าอภัย ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ทรงแต่งโคลงรวม 6 เรื่องคือ โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ โคลงพาลีสอนน้อง ทศรถสอนพระราม โคลงราชสวัสดิ์ โคลงราชาณุวรรต และโคลงประดิษฐ์พระร่วง
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแต่งโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน แต่งเรื่องนี้ขณะดำรงตำแห่งพระอุปราชในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ครั้งนั้นตลิ่งหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกข์ เมืองอ่างทอง ถูกน้ำเซาะพัง พระยาราชสงครามยืนยันว่าจะชะลอเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปให้ได้ โคลงเรื่องนี้เดิมจารึกไว้บนแผ่นศิลาติดไว้เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธรูปแต่หายไป สมัย ร.5 ได้พบสำเนาในสมุดไทย ต่อมา กรมพระยาดำรงราชานุภาพรับสั่งให้ช่างชาวอิตาลีจารึกข้อความลงบนแผ่นหินอ่อนขึ้นใหม่ติดไว้ที่พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ แต่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
เรื่องนี้ให้ความรู้ด้านพระพุทธรูปปางต่างๆ และกล่าวถึงพระพุทธสาวกสำคัญเช่น พระกัสสป พระอานนท์ ด้วย
เจ้าฟ้าอภัยโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแต่งโคลงนิราศเจ้าฟ้าอภัย โดยพระยาตรังคภูมิบาลกวีสมัย ร.2 รวบรวมไว้ในหนังสือโคลงกวีโบราณ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ เจ้าฟ้าอภัยแต่งเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากนางไปลพบุรีซึ่ง เมืองลพบุรีนั้น เมื่อสิ้นสมัยพระนารายณ์ก็ไม่ได้เป็นเมืองหลวงที่ 2 ของกรุงศรีอยุธยาอีกต่อไป มีการกล่าวถึงหญิงคนรัก และการบวงสรวงเทพารักษ์ในตอนท้าย
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้งเป็นโอรสองค์แรกในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อพระเจ้าบรมโกศขึ้นครองราชย์ได้ตั้งเจ้าฟ้ากุ้งเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ ครั้งหนึ่งเจ้าฟ้ากุ้งเอาดาบไล่ฟันขุนสุเรนทรพิทักษ์ผู้เป็นน้องต่างมารดาซึ่งดำรงเพศเป็นภิกษุอยู่ด้วยความอิจฉา จนต้องหนีไปผนวชที่วัดโคกแสงเพื่อให้พ้นโทษ ขณะบวชได้แต่งหนังสือเกี่ยวกับศาสนา 2 เรื่องคือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง หลังลาสิกขาได้ตำแหน่งอุปราช ก็ไปเป็นชู้กับเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลสนมของบิดาตัวเอง ทำให้ต้องพระราชอาญาถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้ากุ้งแต่งวรรณกรรมเชิงพิศวาสได้ไพเราะมาก เช่นเพลงยาวและกาพย์เห่เรือ อีกทั้งยังแต่ง กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท และกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งนันโทปนันทสูตรคำหลวง ขณะบวชที่วัดโคกแสง เพื่อเป็นอานิสงส์ให้พ้นภัย เรื่องราวสอนธรรมะผู้มีความรู้ที่หลงตัวเอง แต่งเป็นร่ายยาว เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับครั้งที่พระพุทธเจ้าประทับที่พระเชตวันทหาวิหาร อนาถบิณฑิกเศรษฐีอาราณนาให้ไปรับบิณฑบาต พอรับแล้วกลับมาประทับในพระวิหาร ได้ทรงทราบว่า พระยานันโทปนันทนาคราชยังมีมิจฉาทิฐิอยู่ จึงเหาะไปเหนือวิมานพระยานันโทปนันทนาคราช พระยานันโทปนันทนาคราชโกรธ เนรมิตกายใหญ่โต พระพุทธเจ้าจึงให้พระโมคคัลลาน์พระอัครสาวกเบื้องซ้ายไปนิมิตกายให้ใหญ่กว่าจนพระยานันโทปนันทนาคราชยอมละทิฐิ ยอมนับถือพระพุทธเจ้า รับศีลห้ามารักษาต่อไป
เรื่องนี้มีศัพท์ยาก สอนเรื่องการงดต่อความโกรธ ไม่พูดหยาบคาย และมีการกล่าวถึงมหาทวีปทั้ง 4 ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณ
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งพระมาลัยคำหลวงขณะบวช โดยเรื่องนี้มาจาก มาเลยฺยสูตร ภิกษุเมืองลังกาแต่งไว้ และมีภิกษุชาวลานนาชื่อพุทธวิลาสแต่งขยายความไว้อีก เรื่องนี้มีหลายสำนวนมากเพราะนิยมเป็นหลักสอนบาปบุญคุณโทษ แต่ก่อนนิยมใช้ในพิธีแต่งงานเมื่อเจ้าบ่าวนอนเฝ้าหอให้มีสัมมาทิฐิ แต่ต่อมาใช้สวดหน้าศพ เรียกว่า สวดหนังสือใหญ่ แต่ปัจจุบันไม่สวดกันแล้วเพราะทำนองสวดยาก
แต่งโดยยกคำบาลีตั้งต้นซึ่งเรียกว่าการเดินคาถา แล้วแปลเป็นไทย แต่งเป็นร่าย มีกาพย์ยานีบ้าง โคลงสุภาพปิดท้าย กล่าวถึงพระมาลัยผู้เป็นพระอรหันต์อยู่ที่โรหนคาม พระมาลัยมีฤทธิ์เสมอพระโมคคัลลาน์ แทรกแผ่นดินไปที่นรกแล้วนำเรื่องความทุกข์ของสัตว์นรกมาเล่าให้พวกญาติฟังเพื่อให้ทำบุญไปให้ แล้วเหาะขึ้นไปไหว้พระเจดีย์บนสวรรค์พบพระศรีอาริย์ พระศรีอาริย์ได้เทศนาว่า ท่านจะมาประกาศศาสนาอีกทั้ง ตอน พ.ศ.5000 คนที่จะเกิดในตอนนั้นได้ต้องฟังเทศน์คาถาพันให้จบครบ 13 กัณฑ์ แล้วพระมาลัยก็มาเล่าเรื่องนี้ให้มนุษย์ฟัง
สำนวนเรื่องนี้เข้าใจง่าย กล่าวถึงบาปบุญคุณโทษต่างๆ
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งกาพย์เห่เรือ เป็นวรรณคดีเห่เรือเรื่องแรกที่ค้นพบในไทย นำมาใช้ชมขบวนเรือในพิธีหลวงจนถึงปัจจุบัน ร.4 ทรงนำบทเห่เรือนี้และของรัชกาลที่2 มาใช้ในพระราชพิธีลอยพระประทีป ต่อมาใช้เห่เรือหลวงในขบวนเสด็จพยุหยาตรา ขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บทแล้วแต่งเป็นกาพย์ยานีไม่จำกัดบท
กล่าวถึงการชมธรรมชาติ พรรณนาเรือพระที่นั่งต่างๆ มีบทเห่เรื่องกากี กล่าวถึงพญาครุฑลักนางกากีไปวิมานฉิมพลี บทเห่สังวาส และเห่ครวญในตอนท้าย เรื่องนี้เป็นยอดของกาพย์เห่เรือ กาพย์เห่เรือในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากเรื่องนี้ทั้งสิ้น
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พรรณนาธรรมชาติจากท่าเจ้าสนุกจนถึงธารทองแดงอันเป็นที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่ประทับของกษัตริย์ที่ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีในสมัยนั้น ตอนต้นเรื่องขาดหายไปนิดหน่อย แต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง คือกาพย์ยานีสลับโคลงสี่สุภาพโดยเนื้อความจะเหมือนกัน ไม่ได้คร่ำครวญถึงความรักมากนัก กล่าวถึงขบวนเสด็จพยุหยาตราทางสถลมารคคือทางบก นางกำนัล พรรณนาสัตว์ต่างๆ พรรณไม้ต่างๆ มีโคลงกลบทไพเราะ เช่นกาพย์และโคลงบาทเลื่อนล้า กาพย์และโคลงอรรถอักษร เป็นต้น เห็นภาพชัดเจน เรื่องนี้เสมือนบัญชีพรรณไม้และสัตว์ป่าในเมืองไทย ให้ความรู้เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของนางในในสมัยกรุงศรีอยุธยา
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งกาพย์ห่อโคลงนิราศ บางครั้งเรียก กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท หรือ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก ธารโศกนั้นเป็นชื่อของธารน้ำในเขตพระพุทธบาท เจ้าฟ้ากุ้งแต่งขณะตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศประพาสพระพุทธบาท เป็นผู้ริเริ่มนำกาพย์ห่อโคลงมาแต่งเป็นทำนองนิราศ จึงเป็นกาพย์ห่อโคลงประเภทนิราศเรื่องแรกในประวัติวรรณคดีไทย
มีเนื้อหาคล้ายทวาทศมาส กล่าวถึงเทศกาลในเดือนต่างๆแล้วมาเปรียบเทียบกับนาง รำพันความรักถึงนาง ทั้งเวลาเข้าสายบ่ายเย็นค่ำ แม้ว่านางจะเสด็จตามไปด้วยก็ตาม ดูจากคำว่า “ใช่เมียรักจักจากจริง” เรื่องนี้ให้ความรู้เรื่องการแบ่งวันเวลาเป็น วัน เดือน ปี ทุ่ม โมง ยาม ให้ความรู้เรื่องพรรณไม้ สัตว์ต่างๆ รู้หน้าที่ของสตรีไทยสมัยโบราณต่อสามี ความเชื่อเรื่องกรรม เรื่องนี้เป็นอิทธิพลให้สุนทรภู่แต่งเรื่องที่กล่าวถึงนาง แต่ไม่ได้จากนางจริงในนิราศภูเขาทองด้วย
เจ้าฟ้ากุ้งแต่งเพลงยาวเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร มีความไพเราะมากๆๆๆๆ โดยกลอนเริ่มเป็นที่นิยมในสมัยพระเจ้าบรมโกศ เป็นกลอนที่ใช้สื่อความรักระหว่างขายหญิง เรื่องนี้พิมพ์อยู่ในหนังสือประชุมเพลงยาว สันนิษฐานว่าหญิงในเรื่องน่าจะกล่าวถึงเจ้าฟ้านิ่มและเจ้าฟ้าสังวาลย์ชู้ของตน
………………………………………………………ปางพี่มาดสมานสุมาลย์สมร
…………ดังหมายดวงหมายเดือนดารากร………อันลอยพื้นอัมพรโพยมพราย
…………แม้นพี่เหินเดินได้ในเวหาศ……………..ถึงจะมาดก็ไม่เสียซึ่งแรงหมาย
…………มิได้ชมก็พอได้ดำเนินชาย………………เมียงหมายรัศมีพิมานมอง
…………นี่สุดหมายที่จะมาดสุมาลย์สมาน………สุดจะหาญที่จะเหินเวหาศห้อง
…………สุดคิดที่จะเข้าเคียงประคอง……………..สุดสนองใจสนิทเสน่ห์กัน
…………โอแต่นี้นับทวีแต่เทวษ…………………..จะต้องนองชลเนตรกันแสงศัลย์
…………จะแลลับเหมือนหนึ่งดับเดือนจะวัน…….เมื่อเลี้ยวเหลี่ยมสัตตภัณฑ์ยุคุนธร
มีสำนวนไพเราะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เลยอยากพิมพ์เก็บไว้.. ให้ความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของโบราณที่รับจากพราหมณ์ ให้ความรู้รูปแบบการแต่งเพลงยาว โดยภายหลังเรื่องที่ขึ้นต้นแบบกลอนเพลงยาวนั้นได้แก่ เพลงยาวพระมหามนตรี (ทรัพย์) แคะไค้ จมื่นราชามาตย์ นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี และโคบุตร เรื่องนี้ยังกลาวถึงความเชื่อของคนไทยในเรื่องบุพเพสันนิวาสและการทำบุญร่วมกันอีกด้วย
เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎเป็นธิดาต่างมารดาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นางข้าหลวงของทั้งสองเป็นเชลยจากปัตตานีได้นำเรื่องอิเหนาซึ่งเป็นพงศาวดารของชวามาเล่า ทั้งสองเห็นว่าสนุกจึงนำมามาปรับเป็นบทละครได้รับความนิยมนำไปเล่นละครในและหนังใหญ่ โดยเจ้าฟ้ากุณฑลแต่งดาหลัง (หรืออิเหนาใหญ่) และเจ้าฟ้ามงกุฎแต่งอิเหนา (หรืออิเหนาเล็ก) โดยทั้งสองมีโครงเรื่องคล้ายกัน แต่นางเอกในเรื่องดาหลังจะชื่อ นางบุษบาก้าโละ ในขณะที่เรื่องอิเหนาชื่อบุษบาเฉยๆ ทั้งสองเรื่องนี้ ฉบับที่เหลืออยู่นั้น ร.4 และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งทรงแต่งซ่อมเกือบทั้งหมด ส่วนของจริงสูญหายเหลือเพียงเล็กน้อยปรากฏในตอนสึกชี เท่านั้น
พระมหานาควัดท่าทราย เป็นภิกษุจำพรรษาอยู่วัดท่าทรายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยนั้นกวีมักอยู่ใกล้ชิดราชสำนักทั้งสิ้นยกเว้นพระมหานาคเป็นกวีนอกราชสำนัก แต่งปุณโณวาทคำฉันท์ซึ่งยังสมบูรณ์ แต่งโคลงนิราศพระบาทซึ่งพระยาตังคภูมิบาลได้จดรวบรวมไว้ในหนังสือโคลงกวีโบราณ
พระมหานาควัดท่าทรายแต่งปุณโณวาทคำฉันท์ บรรยายถึงพระพุทธบาท ซึ่งมีเรื่องปรากฏในปุณโณวาทสูตรมัชฌิมนิกายในสุตตันปิฎก แต่งตอนตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการรอยพระพุทธบาทสระบุรี แต่งเป็นฉันท์และกาพย์ พรรณนาความรุ้สึกระหว่าที่มีการสมโภชครั้งสำคัญ
เล่าถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัจจพันธดาบสจนสำเร็จพระอรหันต์ แล้วสั่งให้ไปช่วยเทศน์สอนประชาชนที่ตำบลสุณาปรันตคาม พระสัจจันธเถระทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงเหยียบรอยพระบาทไว้บนหินเป็นที่บูชา ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ที่ยอดเขาสุวรรณบรรพต ต่อจากนั้นกล่าวถึงการสร้างมณฑบสวมรอยพระพุทธบาท พรรณนากระบวนพยุหยาตราชลมาครตั้งแต่ท่าวาสุกรีถึงท่าเจ้าสนุก และทางสถลมารคตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกถึงพระพุทธบาท พิธีสมโภชพระพุทธบาท มหรสพต่างๆ การจุดดอกไม้ไฟ จบด้วยการกลับพระนคร
เรื่องนี้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานพระพุทธบาทเป็นอย่างดี ทราบเรื่องงานมหรสพในสมัยนั้น
พระมหานาควัดท่าทรายแต่งโคลงนิราศพระบาท โดยพระยาตรังคภูมิบาลกวีสมัย ร.2 รวบรวมไว้ในหนังสือโคลงกวีโบราณ แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ พรรณนาความรู้สึกจากกรุงศรีอยุธยาไปพระพุทธบาท สอดแทรกบทครวญนางไว้ด้วยตามแบบฉบับการแต่งนิราศ แม้จะเป็นภิกษุก็ตาม ให้ความรู้เรื่องตำบลเส้นทางในนิราศ กล่าวถึงวรรณคดีอื่นๆเช่นรามเกียรติโดยเปรียบเทียบอำนาจความงามของนางกับศรสามเล่มของพระราม ซึ่งพระยาตรังคภูมิบาลได้เลียนแบบในโคลงนิราศเสด็จลำน้ำน้อย ให้ความรู้เรื่องความเป็นอยู่ของชาวมอญ การสมโภชพระพุทธบาท การเวียนเทียนประทักษิณรอบพระพุทธบาทด้วย
หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นโหรของเจ้าฟ้ากุ้ง (พระบัณฑูร) ซึ่งพระบัณฑูรนี้คาดว่าน่าจะเป็นเจ้าฟ้ากุ้ง
หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) แต่งกลบทสิริวิบุลกิติซึ่งเหลืออยู่บริบูรณ์ นำเรื่องมาจากปัญญาสชาดก แต่งเพื่อเป็นอานิสงส์ให้สำเร็จอรหันต์ แต่งด้วยกลอนกลบทตลอดเรื่อง
เรื่องกล่าวถึงท้าวยศกิตติแห่งนครจัมปากะ มีมเหสีชื่อนางสิริมดี ไม่มีโอรสและธิดา จึงทำพิธีขอโอรส แล้วฝันว่าดาบสเหาะนำแก้วมาให้ โหรทำนายว่าจะได้พระโอรส แต่พระสวามีต้องพลัดพรากจากเมือง ต่อมาท้าวพาลราชยกทัพมาล้อมเมืองจัมปากะ ท้าวยศกิติทรงหลบหนีจากเมืองพร้อมมเหสีแล้วผนวชอยู่ที่เขาวิบุลบรรพต พรานป่าซึ่งท้าวยศกิติช่วยชีวิตนำกองพับของท้าวพาลราชมาจับท้าวยศกิติไปขังไว้ในเมือง นางสิริมดีประสูติพระโอรสชื่อว่า สิริวิบุลกิติ เมื่อทรงเจริญวันทรงยอมรับโทษประหารแทนบิดา ท้าวพาลราชจึงเอาตัวมาทำโทษวิธีต่างๆแต่ สิริวิบุลกิติก็ไม่เป็นอันตรายใดๆ จึงจะทำการประหารด้วยตนเอง แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อน สิริวิบุลกิติจึงได้ราชสมบัติของบิดาคืนมา รับสั่งให้มารดากลับเมืองแต่พระมารดาสิ้นพระชนม์เสียก่อน จบด้วยการกลับชาติของบุคคลในเรื่องตามอย่างชาดก ตอนท้ายๆไม่ได้แต่งเป็นกลบท
ให้ความรู้เกี่ยวกับชาดกเรื่องสิริวิบุลกิติ จากปัญญาสชาดก สอนหลักธรรมทางพุทธศาสนาเรื่องความโลภโกรธหลง ความเชื่อเรื่องการขอบุตร ความฝัน ต่อมาร.3 โปรดให้กวีแต่งกลอนเพลงยาวกลบทและจารึกไว้ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ละคร น่าจะเกิดขึ้นระหว่างรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อาจได้แบบอย่างมาจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะละครพม่า ซึ่งดัดแปลงมาจากอินเดียมีลักษณะคล้ายละครไทย แต่เดิมจะเล่นเฉพาะงานมงคล ส่วนหนังใหญ่โขนและรำบำใช้เล่นในงานศพด้วย
ละครชาตรี มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับกษัตริย์จากบ้านเมือง จากนาง ต่อสู้กับศัตรูซึ่งส่วนใหญ่เป็นยักษ์และได้รับชัยชนะ มีตัวละครน้อย คือพระ ตลก ยักษ์ ใช้ไม้ตะขาบหรือกรับตีจังหวะเพื่อความสนุกสนาน ละครชาตรีไม่มีบทละครประจำ อาศัยการร้องรำตามความสามารถ ใช้การร้องสด เช่นละครชาตรีของภาคใต้นครศรีธรรมราช ภายหลังขุนศรีสัทธานำแบบแผนละครจากกรุงศรีอยุธยาไปผสมกับการเล่นละครชาตรี นิยมเล่นเรี่องมโนห์รา จึงเรียกกันว่า มโนราชาตรี หรือโนราชาตรี
ละครนอก คือละครที่เล่นได้ทั่วไป ใช้ตัวละครชายล้วน แต่หลังสมัย ร.4 หญิงสามารถร่วมแสดงได้ การรำไม่ประณีต แต่เครื่องแต่งตัวเหมือนละครใน ดำเนินเรื่องเร็ว เน้นความสนุก เล่าเรื่องที่เป็นนิทานพื้นบ้านบ้าง ชาดกบ้าง เล่าได้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องที่สงวนไว้สำหรับละครใน แต่งด้วยกลอนบทละคร ไม่เคร่งครัดข้อบังคับ บางครั้งมีกาพย์ปนอยู่ด้วยเรียกว่า กลอนกาพย์ ไม่เน้นคุณค่าทางวรรณคดีมากนัก ให้คุณค่าด้านการละครมากกว่าทางด้านอักษรศาสตร์ เกิดสำนวนเช่น ดอกพิกุลจะร่วงจากปากจากเรื่องพิกุลทอง
ละครใน คือละครที่เป็นของหลวง ใช้ตัวละครหญิงล้วนเล่นในเขตพระราชฐานเท่านั้น เดิมเรียกว่าละครนางในหรือละครข้างใน ได้รับแบบแผนมาจากการเล่นโขนกับละครนอกผสมกันกับการจับระบำรำฟ้อน มุ่งความงดงาม ความคมคายของบทเจรจา มีแค่ 4 เรื่อง คือ รามเกียรติ อุณรุท ดาหลัง และอิเหนา
สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ละครในและละครนอกรุ่งเรืองมาก หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ละครนอกเหลืออยู่ 14 เรื่อง ที่มาของละครส่วนใหญ่คือ นิบาตชาดก (เรื่องเล่าจากพระพุทธเจ้า) ปัญญาสชาดก (เรื่องราวของพระพุทธเจ้า) และนิทานพื้นเมือง ต่อมา ร.2 ทรงแต่งบทละครนอกขึ้นใหม่ 5 เรื่อง คือ สังข์ทอง คาวี ไกรทอง ไชยเชษฐ์ มณีพิชัย และ ร.3 ทรงแต่งเรื่อง สังข์ศิลป์ไชย ตอนตกเหว เป็นต้น
-สรุป- วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีวรรณคดีสำคัญเกิดขึ้นหลายเรื่องโดยใช้คำประพันธ์ครบถ้วน ทั้งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย กวีมีทั้งชายหญิง วรรณคดีประเภทกาพย์เจริญสูงสุด มีการขยายตัวของรูปแบบการประพันธ์คือมีการประพันธ์รูปแบบใหม่ เกิดนาฏวรรณคดีหรือกลอนบทละคร การละครเจริญรุ่งเรือง

ประวัติกรุงธนบุรี : พงศ์ศิริ คำพา

ประวัติกรุงธนบุรี

การกอบกู้เอกราช[แก้]

เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีรับราชการเป็นพระยาตากในระหว่างสงครามการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[1] พระยาตากได้ถอนตัวจากการป้องกันพระนครพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งเพื่อไปตั้งตัว โดยนำทัพผ่านบ้านโพสามหาร บ้านบางดง หนองไม้ทรุง เมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี พัทยา สัตหีบ ระยอง โดยกลุ่มผู้สนับสนุนพระยาตากได้ยกย่องให้ให้เป็น "เจ้าชาย"[2]และตีได้เมืองจันทบุรีและตราด เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310[3]
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายกองทัพพม่าได้คงกำลังควบคุมในเมืองหลวงและเมืองใกล้เคียงประมาณ 3,000 คน โดยมีสุกี้เป็นนายกอง ตั้งค่ายอยู่ที่บ้านโพธิ์สามต้น พร้อมกันนั้น พม่าได้ตั้งนายทองอินให้ไปเป็นผู้ดูแลรักษาเมืองธนบุรีไว้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอาณาจักรอยุธยาจะสิ้นสภาพลงไปแล้ว แต่ยังมีหัวเมืองอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับความเสียหายจากศึกสงคราม หัวเมืองเหล่านั้นจึงต่างพากันตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน ส่วนทางด้านพระยาตากเองก็สามารถรวบรวมกำลังได้จนเทียบได้กับหนึ่งในชุมนุมทั้งหลายนั้น โดยมีจันทบุรีเป็นฐานที่มั่น
ต่อมา พระยาตากจึงนำกำลังที่รวบรวมประมาณ 5,000 คน ตีเมืองธนบุรีและอยุธยาคืนจากข้าศึก เสร็จแล้วจึงสถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[4] และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่ คือ กรุงธนุบรี[5]

การรวมชาติและการขยายตัว[แก้]

ครั้นเมื่อพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่าทรงทราบข่าวเรื่องการกอบกู้เอกราชของไทย พระองค์จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองทวายคุมกองทัพมาดูสถานการณ์ในดินแดนอาณาจักรอยุธยาเดิม เมื่อปลาย พ.ศ. 2310 แต่ก็ถูกตีแตกกลับไปโดยกองทัพธนบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง[6]
ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้จัดเตรียมกำลังเพื่อทำลายคู่แข่งทางการเมือง เพื่อให้เกิดการรวมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2311 ทรงมุ่งไปยังเมืองพิษณุโลกเป็นแห่งแรก ทว่า กองทัพธนบุรีพ่ายต่อกองทัพพิษณุโลก ณ ปากน้ำโพ จึงต้องเลื่อนการโจมตีออกไปก่อน แต่ภายหลังเจ้าพิษณุโลกถึงแก่พิราลัย ชุมนุมพิษณุโลกอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าพระฝางแทน
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปลี่ยนเป้าหมายไปยังชุมนุมเจ้าพิมาย เนื่องจากทรงเห็นว่าควรจะปราบชุมนุมขนาดเล็กเสียก่อน กรมหมื่นเทพพิพิธสู้ไม่ได้ ทรงจับตัวมายังกรุงธนบุรี และถูกประหารระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2311[7] เมื่อขยายอำนาจไปถึงหัวเมืองลาวแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพยายามใช้พระราชอำนาจของพระองค์ช่วยให้ นักองรามเป็นกษัตริย์กัมพูชา โดยพระองค์โปรดให้ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปตีกัมพูชา แต่ไม่สำเร็จ[8]
ในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีศุภอักษรไปยังสมเด็จพระนารายณ์ราชา เจ้ากรุงเขมร โดยให้ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามประเพณี แต่สมเด็จพระนารายณ์ราชาปฏิเสธ พระองค์ทรงขัดเคืองจึงให้จัดเตรียมกองกำลังไปตีเมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พระองค์ได้ส่งพระยาจักรีนำกองทัพไปปราบเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อทรงทราบข่าวทัพพระยาจักรีไปติดขัดที่ไชยา จึงทรงส่งทัพหลวงไปช่วย จนตีเมืองนครศรีธรรมราชได้เมื่อเดือน 10 ฝ่ายแม่ทัพธนบุรีในเขมรไม่ได้ข่าวพระเจ้าแผ่นดินมานาน จึงเกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบ รีบยกกองทัพกลับบ้านเมืองเสียก่อน และทำให้การโจมตีเขมรถูกระงับเอาไว้
ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพขึ้นไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง โดยตีได้เมืองพิษณุโลก และตามไปตีชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรีได้ และทรงประทับ ณ เมืองสวางคบุรี เพื่อสมโภชการสำเร็จศึก และจัดการการปกครองและคณะสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ 2 เดือนเศษ ซึ่งนับเป็นชุมนุมอิสระสุดท้ายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝางได้นั้น นับเป็นการพระราชสงครามสุดท้ายที่ ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงบรรลุพระราชภารกิจสำคัญ ในการรวบรวมพระราชอาณาเขตให้เป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวดังเดิมหลังภาวะจลาจลเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 และทำให้สิ้นสุดสภาพจลาจลการแยกชุมนุมอิสระภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และนับเป็นการสถาปนากรุงธนบุรีได้อย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เมื่อสำเร็จศึกปราบชุมนุมก๊กเจ้าพระฝาง ในปี พ.ศ. 2313[9]

สูตรคิดเลขเร็วคณิตศาสตร์ : พงศ์ศิริ คำพา

สูตรคิดเลขเร็วคณิตศาสตร์

สูตรคิดเลขรวมสูตรคณิตคิดเลขเร็ว ที่จะทำให้เข้าใจเลขง่ายขึ้นเยอะ: สูตรคิดเลขเร็วในแบบต่างๆ ซึ่งทำออกมาในลักษณะแผนภาพ หรืออินโฟกราฟิก ที่รวบรวมมาในกระทู้นี้ สำหรับน้องๆ ที่ต้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นแผนภาพจากเว็บไซต์ myfristbrain ซึ่งจะช่วยสร้างทางลัดให้น้องๆ สามารถเข้าใจวิธีการคิดเลขได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ ในกระทู้นี้ได้รวบรวมไว้หลายสูตรเลย อาทิ เทคนิคการบวกเลขเรียง 10  เทคนิคการหารเร็ว เทคนิคการลบเลขเร็ว ฯล ไปดูแล้วเซฟเก็บไว้ในเครื่องเอาไว้ใช้ได้เลยจ้า

เทคนิคการบวกเลขเรียงกัน 10 จำนวน  ในแบบแผนภาพ
รวมสูตรคิดเลขเร็ว แบบแผนภาพ เข้าใจง่ายขึ้นเยอะ!
รวมสูตรคิดเลขเร็ว แบบหารเร็ว