วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีลดน้ำหนัก : พงศ์ศิริ คำพา

วิธีลดน้ำหนัก

วิธีลดความอ้วน 7 วัน 8 กิโลกรัม ทำได้อย่างไร ไปดูกัน


วิธีลดความอ้วน 7 วัน 8 กิโลกรัม ทำได้อย่างไร ไปดูกัน


         ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาวิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก วิธีลดความอ้วน ? เพราะมีกำหนดการที่จำเป็นจะต้องสวมใส่ชุดสวยเข้ารูปหลังจากนั้นอีกเพียง 2-3 สัปดาห์ ซึ่งในระยะเวลากระชั้นชิดนี้ คุณอาจคิดว่าตัวเองจะต้องออกกำลังกาย และควบคุมอาหารกันอย่างหนัก เพื่อรีดน้ำหนักส่วนเกินให้หมดไปจนกระทั่งสามารถสวมใส่ชุดสวยเข้ารูปให้ดูดีได้ แต่ที่จริงแล้ว คุณอาจไม่ต้องฝืนพยายามมากขนาดนั้น ขอเพียงแค่เข้าใจเคล็ดลับการลดความอ้วนอย่างถูกต้อง ใช้วิธีลดความอ้วน 7 วัน คุณก็จะสามารถลดน้ำหนักบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ระยะเวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น

อยากลดความอ้วน 7 วัน โปรดอ่าน


เคล็ดลับลดความอ้วน 7 วัน แบบทำได้จริง
         หากคุณสามารถที่จะรวบรวม และเข้าใจถึงเมนูอาหารที่เหมาะสมในการลดน้ำหนัก ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามวิธีลดความอ้วน 7 วัน ที่กำลังจะขอแนะนำต่อไปนี้ ด้วยวิธีง่ายๆเหล่านี้ ก็จะช่วยให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายหุ่นสวยของตัวเอง สำหรับข้อแนะนำเบื้องต้นก่อนเข้าสู่เมนูอาหารแนะนำต่อไปนี้ คือ คุณไม่ควรที่จะข้ามไม่ทานอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หรือทานอาหารผิดเวลา เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดการขาดสมดุลทางโภชนาการตามแผนที่ได้วางเอาไว้ จนกระทั่งส่งผลให้ แผนการลดความอ้วน 7 วัน ของคุณอาจล้มเหลวอย่างน่าเสียดายทีเดียว หากใครพร้อมแล้วที่จะลดความอ้วน 7 วัน สามารถทานอาหารได้ตามเมนูแนะนำ ดังต่อไปนี้กันเลย



         วันที่ 1 : ผลไม้สด ในวันแรกของการลดน้ำหนัก ควรเริ่มจากการปรับสภาพร่างกายด้วยผลไม้สดที่อุดมสมบูรณ์ คุณสามารถที่จะเลือกผลไม้ที่ตัวเองชอบ แต่ให้ยกเว้นการรับประทานกล้วย แล้วเน้นไปทานผลไม้ประเภทแตงโม และแคนตาลูป พร้อมกับดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว นอกจากนี้ คุณไม่ควรที่จะทานอาหารประเภทอื่นๆอีกเลย นอกจากผักดิบ หรือผักต้ม แต่ถ้าคุณรู้สึกห้ว ก็ให้ทานผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้น
         วันที่ 2 : ผัก วันนี้คุณสามารถที่จะทานอาหารประเภทผักได้อย่างเต็มอิ่ม แต่ให้แน่ใจว่าอาหารที่ทำจากผักเหล่านั้น ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรุงผ่านน้ำมัน สำหรับอาหารผักที่แนะนำได้แก่ ถั่ว แครอท แตงกวา ผักกาดหอม กระหล่ำปลี ผักกาด เป็นต้น และอย่าลืมดื่มน้ำอย่างพอพียงด้วย
         วันที่ 3 : ผักและผลไม้ ให้แน่ใจว่าคุณหลีกเลี่ยงการทานมันฝรั่งในส่วนของผัก และกล้วยจากในส่วนของผลไม้ แผนการอาหารของวันนี้เริ่มต้นด้วยการทานผลไม้เป็นอาหารเช้า ผักในมื้อเที่ยง ผลไม้ในมื้อเย็น และผักผลไม้ในมื้อดึกอีกครั้ง และอย่าลืมดื่มน้ำมากๆด้วย
         วันที่ 4 : กล้วยและนม ในวันนี้คุณสามารถทานกล้วย 8-10 ลูก และนมอีก 3 แก้ว สำหรับเป็นอาหารตลอดทั้งวัน ซึ่งในวันนี้อาจจะทำให้คุณรู้สึกหิวบ้าง แต่ถ้าหากจัดสรรดีๆ ด้วยอาหารปริมาณเท่านี้ก็สามารถที่จะช่วยทำให้คุณอยู่ได้ตลอดทั้งวัน
         วันที่ 5 : มะเขือเทศ ในวันนี้คุณสามารถทานข้าวได้ 1 จาน ในมื้อกลางวัน และมะเขือเทศจำนวนประมาณ 7-8 ผล ในวันนี้ร่างกายของคุณมีโอกาสที่จะผลิตกรดยูริคเป็นจำนวนมาก จึงควรที่จะดื่มน้ำในปริมาณมากขึ้น ประมาณ 12-15 แก้ว
         วันที่ 6 : ในมื้อกลางวันคุณสามารถทานข้าวได้หนึ่งจาน แต่ในมื้อที่เหลือของวัน คุณต้องทานผักเป็นหลักเช่นเดิม และอย่าลืมการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
         วันที่ 7 : ผลไม้และน้ำผัก ในวันนี้คุณได้รับอนุญาตให้ทานข้าว ผัก และน้ำผลไม้ เพื่อช่วยในการลบล้างขับสารพิษที่ไม่จำเป็นออกจากร่างกาย



         การทำตามสูตรเมนูลดความอ้วน 7 วัน อย่างเข้มงวดนี้ นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักได้มากถึง 4-5 กิโลกรัม แต่ยังช่วยปรับปรุงระบบย่อยอาหาร และทำให้ผิวพรรณมีความกระจ่างสดใสมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีที่เรียกได้ว่าสุดแสนจะเรียบง่ายเลยทีเดียว

         แม้ว่าจะปฎิบัติตัวตามวิธี แก้ไขปัญหาลดความอ้วน ที่ได้แนะนำไปแล้วในตอนต้น แต่คุณก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาน้ำหนักตัวเกินมาตราฐานขึ้นได้จากอีกหลากหลายปัจจัย สำหรับใครที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีประสิทธิภาพช่วยในการแก้ไข ลดเลือนปัญหาน้ำหนักเกินมาตราฐาน ด้วย Meedy สูตรธรรมชาติ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเผาผลาญในร่างกายให้สูงมากขึ้นในทุกอริยาบทตลอดทั้งวัน แถมยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มได้อย่างยาวนาน พร้อมเสริมวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น ลดอาการอยากทานอาหารจุกจิให้น้อยลงตลอดวัน น้ำหนักจึงค่อยๆลดลงอย่างช้าๆ และเป็นการ ลดไขมัน ด้วยกระบวนการทางธรรมชาติอย่างปลอดภัย และไม่เป็นภาระต่อร่างกายอีกด้วย

การคิดอย่างผ่อนคลาย : พงศ์ศิริ คำพา

การคิดอย่างผ่อนคลาย

10 วิธีผ่อนคลาย จากความเครียดในการทำงาน

 | เปิดอ่าน | ความคิดเห็น 2
www.ejobeasy.com สนับสนุนเนื้อหา
การมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังกับการทำงานเป็นสิ่งดี แต่ถ้าทำให้ถึงกับเครียดจนเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งสมควร
10 วิธีผ่อนคลาย จากความเครียดในการทำงาน
การมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังกับการทำงานเป็นสิ่งดี แต่ถ้าทำให้ถึงกับเครียดจนเกินไปก็ไม่ใช่สิ่งสมควร เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว นอกจากจะทำให้ไม่ได้งานดีอย่างที่ตั้งใจไว้ ยังส่งผลเสียด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย ทำให้เสียความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ทั้งผู้ร่วมงานและคนในครอบครัว ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ดังนั้น การรู้จักผ่อนคลายความเครียดจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะนอกจากจะช่วยคลายเครียดและเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดีแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ทำให้มีความสุขในชีวิตมากขึ้นด้วย
กรมสุขภาพจิตจึงขอนำเสนอวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยคลายเครียดในการทำงาน 10 วิธี ดังต่อไปนี้ คือ

1.ออกกำลังกาย
เมื่อรู้สึกเครียดจากการทำงาน การออกกำลังกายจนได้เหงื่อจะช่วยคลายเครียดได้ หลังเลิกงานหรือในวันหยุดควรออกกำลังกายหรือกีฬาบ้าง และถ้าได้เล่นกับกลุ่มเพื่อนจะยิ่งสุกสนานมากขึ้น และการช่วยกันทำงานบ้านในวันหยุด ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ดีและยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวรู้สึกรักใคร่สามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันด้วย

2.การพักผ่อนหย่อนใจ
หลังเลิกงานแล้วควรจะได้พักผ่อนหย่อนใจบ้างเพื่อผ่อนคลายจิตใจ ทำให้พร้อมที่จะกลับไปทำงานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งหนึ่ง กิจกรรมการพักผ่อนหย่อนใจมีอยู่มากมาย ควรเลือกที่ตรงข้ามกับงานประจำ เช่น งานประจำต้องนั่งโต๊ะทั้งวัน ยามว่างควรทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือถ้างานประจำต้องให้บริการผู้อื่น ยามว่างควรไปให้ผู้อื่นบริการบ้าง เพื่อให้ชีวิตสมดุลและผ่อนคลาย
3.การพูดอย่างสร้างสรรค์
การพูดอย่างสร้างสรรค์จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ควรหมั่นพูดคำว่า สวัสดี ไม่เป็นไร ขอโทษ และขอบคุณให้ติดปาก เพราะจะแสดงถึงความมีมารยาท มีน้ำใจ ให้อภัย และรู้คุณค่าการกระทำของผู้อื่นซึ่งเป็นเสน่ห์แก่ผู้พูด และผู้ฟังก็สบายใจด้วย ควรหมั่นพูดชมเชย ให้กำลังใจ ไต่ถามทุกข์สุข ปลุกปลอบใจ และประสานความเข้าใจกัน บางเรื่องไม่ควรพูดก็อย่าพูด จะช่วยตัดปัญหาและลดความเครียดลงได้มาก
4.การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
การเก็บกดอารมณ์ที่ไม่ดี หรือแสดงอารมณ์ที่ไม่ดี จะทำให้เกิดความเครียด ควรฝึกควบคุมอารมณ์ คิดก่อนทำ และทำอย่างเหมาะสม จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์และไม่ทำให้เกิดปัญหาตามมา เมื่ออารมณ์ดี ควรยิ้มแย้มทักทาย พูดเล่น ฮัมเพลง จะทำให้ผู้ใกล้ชิด พลอยรู้สึกดีตามไปด้วย เมื่ออารมณ์ไม่ดี อย่าเพิ่งพูดหรือทำอะไรลงไป เพราะอาจเสียใจภายหลัง ให้หลบออกจากสถานการณ์สักพัก หรือหายใจเข้าออกช้า ๆ สัก 4-5 ครั้ง หรือนับ 1-10 ในใจก็ได้ พยายามคิดถึงผลเสียที่จะเกิดตามมา จะทำให้มีสติและแสดงออกได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้อื่นดีขึ้นและเครียดน้อยลง
5.การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน
การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน จะช่วยให้รู้สึกมีความสุขในการทำงานและช่วยให้ทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพเพราะมีผู้คอยให้กำลังใจ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานสามารถทำได้โดยการรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเราอยู่เสมอ อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเราอย่างไรก็ต้องปฏิบัติอย่างนั้นกับผู้อื่นเช่นกัน
6.การบริหารเวลา
การบริหารเวลาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีเวลาเหลือเพียงพอสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจส่วนตัว และมีเวลาให้ครอบครัวอย่างเพียงพอ ทำให้เครียดน้อยลง ควรทบทวนดูว่าในแต่ละวันได้ใช้เวลาไปกับเรื่องใดบ้าง เสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องมากน้อยแค่ไหน จากนั้นจัดแบ่งเวลาเสียใหม่ รีบทำงานสำคัญและเร่งด่วนให้เสร็จก่อน แล้วจึงทำงานอื่นภายหลัง ลดการคุยเล่น เดินไปเดินมา กินขนม ฯลฯ ให้น้อยลง ก็จะประหยัดเวลาและได้งานมากขึ้น ลองสังเกตเพื่อนร่วมงานที่บริหารเวลาได้ดี แล้วลองทำดูบ้าง อาจช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.การแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี
ในการทำงานย่อมมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ถ้าแก้ปัญหาอย่างใช้อารมณ์ ไม่มีเหตุผลจะทำให้เครียดมาก เพราะบางทีปัญหาเก่าก็ยังแก้ไม่ได้ แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก ควรเริ่มต้นแก้ปัญหาที่สาเหตุ หาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ แล้วแก้ตรงนั้น ถ้าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาก็ต้องแก้ที่ตัวเราด้วย ถ้าคิดแก้ปัญหาเองไม่ได้ ก็ไม่ควรอาย หรือกลัวว่าจะเสียหน้าที่จะปรึกษาหารือและขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เมื่อรู้วิธีแก้ไขปัญหาแล้วก็ควรลงมือทำทันที บางปัญหาอาจแก้ยาก ก็ให้อดทน อย่าท้อแท้ เพราะเมื่อแก้ปัญหาได้สำเร็จก็จะภูมิใจและหายเครียดไปเอง
8.การปรับเปลี่ยนความคิด
ความเครียดส่วนหนึ่งจะมาจากความคิดของคนเรานั่นเอง ถ้ารู้สึกว่าตัวเองคิดมาก คิดสับสนวนเวียนหาทางออกไม่ได้ ควรหยุดคิดสักพัก เปลี่ยนอิริยาบถไปทำอย่างอื่นก่อน เมื่อรู้สึกดีขึ้นค่อยกลับมาคิดใหม่ ลองปรับเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ เช่น คิดอย่างใช้เหตุผล คิดหลาย ๆ แง่มุม ลองคิดอย่างที่คนอื่นเขาคิด คิดเรื่องดี ๆ และคิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าเอาแต่หมกมุ่นกับตัวเองมากเกินไป การคิดแบบใหม่ ๆ จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและหายเครียดได้
9.การสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจ
"จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" จิตใจที่เข้มแข็งจะช่วยให้เอาชนะความเครียดได้ การสร้างความเข้มแข็งของจิตใจ ทำได้โดยการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง ให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอว่า "เราต้องทำได้" ต้องเข้าใจชีวิตให้ถ่องแท้ว่าไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรยั่งยืน จะได้ไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญ และต้องใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด ไม่ติดอยู่กับอดีตหรือวิตกกังวลกับอนาคตให้มากเกินไป อย่าลืมที่จะสร้างความอบอุ่นในครอบครัว จะเป็นกำลังใจช่วยให้เราต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้อย่างดีที่สุด
10.การรู้จักยืนยันสิทธิ์ของตน
ความเครียดอาจเกิดได้จากการยอมอ่อนข้อหรือเกรงใจผู้อื่นมากเกินไปจนทำให้ตัวเองเดือดร้อน หากรู้จักยืนยันสิทธิของตนเสียบ้าง จะช่วยให้เป็นที่เกรงใจของผู้อื่นมากขึ้นและเครียดน้อยลง สิทธิ์ที่ควรยืนยัน ได้แก่ สิทธิ์ที่จะทำงานเร่งด่วนของตนเองให้เสร็จก่อน สิทธิ์ที่จะไต่ถามเพราะไม่รู้หรือไม่เข้าใจ สิทธิ์ที่จะเลือกทำสิ่งที่ตนเองพอใจโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สิทธิ์ที่จะเปลี่ยนใจเมื่อได้ข้อมูลใหม่ และสิทธิ์ที่จะชี้แจงเมื่อถูกเข้าใจผิด

ขั้นตอนการทําโครงงาน : พงศ์ศิริ คำพา

ขั้นตอนการทําโครงงาน

วิธีการดำเนินการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
        1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1.11  องค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์
ที่มา : http://3.bp.blogspot.com
1.1 ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
1.2 สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
1.3 มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
1.4 มีเวลาเพียงพอ
1.5 มีงบประมาณเพียงพอ
1.6 มีความปลอดภัย
        2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้
        3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ ดังนี้
3.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
3.2  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
3.3  ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
3.4  กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
3.5  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3.6  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
แบบฟอร์มเขียนข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)………………………………………………………………………………………………………………………………
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)..………………………………………………………………………………………………………………………….
ประเภทของโครงงาน .....................................................................................................................................................................................
ชื่อผู้ทำโครงงาน
     1………………………………………….................................................………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
     2……………………………………................................................……………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน .........................................................................................................................................................................................
ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม....................................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินงาน ..........................................................................................................................................................................................
 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน
 1. ที่มา และความสำคัญของโครงงาน (อธิบายถึงแนวคิดและเหตุผลของการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….....................
 2. วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทำโครงงาน ระบุเป็นข้อ ๆ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 3. ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจำกัดของโครงงาน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 4. หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทำโครงงาน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 5. วิธีการดำเนินงาน (กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ งบประมาณ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน)
     แนวทางการดำเนินงาน ..............................................................................................................................................................................
     เครื่องมือและอุปกรณ์...................................................................................................................................................................................
     งบประมาณ…………………………………………………………………………………………………………………………………
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ภาคเรียนที่ ................ปีการศึกษา ..................

ที่กิจกรรม / รายการที่ปฏิบัติระยะเวลาดำเนินการ (เดือน)ผู้รับผิดชอบหมายเหตุ

 6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..............
 7. แหล่งอ้างอิง (เอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..............
        4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว  ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้
    4.1 การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่น ๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมและควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างการทำโครงงาน ได้แก่ การดำเนินการอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ ที่พบ
    4.2 การลงมือพัฒนา เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ในเค้าโครง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ หากพบว่าจะช่วยให้ผลงานพัฒนาได้ดีขึ้น โดยจัดระบบการทำงาน  ทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้เสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริม เพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้มีการตกลงรายละเอียดในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบและครบถ้วน
    4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงตามความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
    4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำข้อสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัด ครอบคลุมหัวข้อโครงงาน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและอภิปรายผล เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับ หลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้รวมไปถึงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลได้
    4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหาซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย
หัวข้อในการเขียนรายงาน โครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)………………………………………………………………………………………………………………………………..
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)..………………………………………………………………………………………………………………………….
ประเภทของโครงงาน................................................................................................................................................................................
ชื่อผู้ทำโครงงาน
     1………………………………...................................…………………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
     2……………………………...................................……………………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ...............................................................................................................................................................................
ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม........................................................................................................................................................................
กิตติกรรมประกาศ. ...................................................................................................................................................................................
บทคัดย่อ.....................................................................................................................................................................................................
บทที่ 1 บทนำ
     ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ..............................................................................................................................................................
     วัตถุประสงค์...............................................................................................................................................................................................
     ขอบเขตของโครงงาน................................................................................................................................................................................
บทที่ 2 หลักการและทฤษฎี .............................................................................................................................................................................
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ .....................................................................................................................................................................................
บทที่ 4 ผลการศึกษา.......................................................................................................................................................................................
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ ......................................................................................................................................................................
บรรณานุกรม ...............................................................................................................................................................................................
คู่มือการใช้งาน ...........................................................................................................................................................................................
     ส่วนแรกของรายงานจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน โดยส่วนใหญ่ได้เขียนไว้ในข้อเสนอโครงงานบ้างแล้ว ยกเว้น กิตติกรรมประกาศ ซึ่งเป็นคำกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้การทำโครงงานสำเร็จ อีกส่วนหนึ่งคือ บทคัดย่อ ซึ่งเป็นการอธิบายโดยสรุปให้เห็นถึงผลการศึกษาที่ได้จากการทำโครงงาน โดยเขียนเป็นความเรียง
       บทที่ 1 บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานโดยได้เขียนไว้แล้วในข้อเสนอโครงงานซึ่งประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงงาน
       บทที่ 2 หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูล หลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่น ที่ผู้จัดทำโครงงานนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
       บทที่ 3 วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน
       บทที่ 4 ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นรูปภาพ ตาราง กราฟ ข้อความ ทั้งนี้ต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
       บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การสรุปผลการดำเนินงาน เป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมุติฐานควรระบุถึงข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ การนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ และควรมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงานเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อื่นศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้จัดทำและผู้ใช้จะได้ประโยชน์จากการทำโครงงานด้วย
       บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสารเอกสารและ /หรือเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานใช้ศึกษา ค้นคว้ารายละเอียด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงาน ทั้งนี้เขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
       คู่มือการใช้งาน เป็นคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้กับผลงานนั้นได้ (ถ้ามี) รายละเอียดของคอมพิวเตอร์  ต้องมีรายชื่อซอฟต์แวร์   ผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก วิธีการใช้งาน ควรอธิบายขั้นตอนตามลำดับการทำงาน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ข้อแนะนำการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ไว้ในภาคผนวกของรายงานก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ
         6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์ โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้ การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
ภาพที่ 1.12  การนำเสนอและการแสดงโครงงาน
ที่มา : http://www.thaigoodview.com
6.1 ชื่อโครงงาน
6.2 ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
6.3 ชื่อที่ปรึกษา
6.4 คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
6.5 วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6.6 การสาธิตผลงาน
6.7 ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน
     ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้
1)  จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างมีระบบ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
2)  ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบาย รวมไปถึงการเตรียมข้อมูลที่อาจจะต้องใช้ในการตอบคำถาม
3)  หลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน
4)  ควรมองไปยังผู้ฟังรายงาน
5)  ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา
6)  รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
7)  ควรใช้สื่อ เช่น สไลด์ แผ่นใส ประกอบการรายงาน
8)  ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง
9)  ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี
        การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัย และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

วิธีผูกเชือกเงื่อนลูกเสือ : พงศ์ศิริ คำพา

วิธีผูกเชือกเงื่อนลูกเสือ

เงื่อนพิรอด
เป็นเงื่อนที่ใช้ประโยชน์มากในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะการต่อปลายเชือก 2 ข้างเข้าด้วยกัน ซึ่งเงื่อนนี้จะแน่นมากแต่ก็แก้ออกได้ง่าย
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือกขนาดเท่ากัน เหนียวเท่ากัน
        2. ใช้ผูกปลายเชือกเส้นเดียวกัน เพื่อผูกมัดห่อสิ่งของและวัตถุต่างๆ
        3. ใช้ประโยชน์ในการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น ผูกชายผ้าพันแผล ผูกชายผ้า
        4. ผูกเชือกรองเท้า ผูกโบ
เงื่อนพิรอด

เงื่อนขัดสมาธิ
เงื่อนขัดสมาธิเป็นเงื่อนที่มีประโยชน์ในการต่อเชือกที่มีขนาดต่างกัน หรือขนาดเท่ากัน โดยใช้เส้นใหญ่ทำเป็นบ่วง ส่วนเส้นเล็กเป็นเส้นพันขัด
ประโยชน์ 
         1. ใช้ต่อเชือกขนาดต่างกัน หรือขนาดเดียวกันก็ได้
         2. ใช้ต่อเชือกแข็งกับเชือกอ่อน (เส้นอ่อนเป็นเส้นพันขัด)
         3. ใช้ต่อเชือกที่ค่อนข้างแข็ง เช่น เถาวัลย์
         4. ใช้ผูกเชือกกับสิ่งที่มีลักษณะเป็นขอหรือหูอยู่แล้ว เช่น ธงชาติ
         5. ใช้ต่อเส้นด้าย เส้นไหมทอผ้า
เงื่อนขัดสมาธิ

เงื่อนบ่วงสายธนู
เงื่อนบ่วงสายธนู เป็นเงื่อนที่ไม่รูด ไม่เลื่อนเข้าไปรัดกับสิ่งที่ผูก ตัวบ่วงจะคงที่
 ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกสัตว์ไว้กับหลักหรือต้นไม้ เป็นเงื่อนที่ไม่รูดและไม่เลื่อนเข้าไปรัด กับหลัก
           เพราะสามารถหมุนรอบได้
        2. ใช้ผูกเรือกับหลัก เมื่อเวลาน้ำขึ้นหรือน้ำลงบ่วงจะเลื่อนขึ้นลงได้เอง
        3. ใช้คล้องกันธนูเพื่อโก่งคันธนู
        4. ใช้คล้องคนให้หย่อนตัวจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแทนเงื่อนเก้าอี้
        5. ใช้ผูกปลายเชือก ผูกถังตั้งหรือถังนอน
เงื่อนบ่วงสายธนู

เงื่อนประมง เงื่อนประมงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเดียวกัน ซึ่งเป็นเงื่อนที่รู้จักกันทั่วไปอีกชื่อหนึ่งว่า เงื่อนหัวล้านชนกัน 
ประโยชน์ 
        1. ใช้ต่อเชือก 2 เส้นที่มีขนาดเดียวกัน
        2. ใช้ต่อเชือกเส้นด้ายเล็กๆเช่น ด้ายเบ็ด ต่อเส้นเอ็น
        3. ใช้ผูกคอขวดสำหรับถือหิ้ว(คอขวดที่มีขอบขวด)
        4. ใช้ใช้ต่อเชือกที่มีขนาดใหญ่ที่ลากจูง
        5. ใช้ต่อสายไฟฟ้า
เงื่อนประมง

เงื่อนปมตาไก่เงื่อนปมตาไก่เป็นเงื่อนที่ขมวดปลายเชือกให้เป็นปม แต่ถ้าต้องการให้ปมเชือกมีขนาด
ใหญ่ก็ขมวดหลายครั้ง 
ประโยชน์ 
         1. ใช้ผูกร้อยหูเต็นท์
         2. ทำปมบันไดเชือก
         3. สามารถผูกเป็นเงื่อนปากขวดได้

เงื่อนผูกซุงเงื่อนผูกซุงเป็นเงื่อนที่ใช้สำหรับผูกสิ่งของต่างๆ ให้ยึดติดกันแน่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มี
ลักษณะพิเศษ คือ ผูกง่าย แก้ง่าย แต่เป็นเงื่อนที่ยิ่งดึงยิ่งแน่น    ยิ่งดึงแรงมากเท่าไรก็จะยิ่ง
แน่นมากขึ้นเท่านั้น
ประโยชน์ 
        1. ใช้ผูกวัตถุท่อนยาว ก้อนหิน ต้นซุง เสา เพื่อการลากโยง
        2. ใช้ผูกทแยง
        3. ใช้ผูกสัตว์ เรือ แพไว้กับท่าหรือเสาหรือรั้ว ต้นไม้
        4. เป็นเงื่อนที่ผูกง่าย แก้ยาก
เงื่อนผูกซุง

เงื่อนตะกรูดเบ็ดเป็นเงื่อนที่ใช้งานต่างๆ มากมาย เช่น ผูกสิ่งของต่างๆ ผูกเหล็ก ผูกรั้ว ผูกตอม่อในการสร้างสะพาน ผูกแขวนรอก ผูกสมอเรือ ผูกบันได ผูกเบ็ด
ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกเชือกกับเสาหรือหลักเพื่อล่ามสัตว์เลี้ยงหรือแพ
       2. ใช้ผูกบันใดเชือก บันใดลิง
       3. ใช้ในการผูกแน่น เช่น ผูกประกบ ผูกกากบาท 
เงื่อนตะกรุดเบ็ด

เงื่อนผูกรั้ง
เงื่อนผูกรั้งเป็นเงื่อนที่ใช้ผูกยึดกับสิ่งอื่น ซึ่งเป็นเงื่อนที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถปรับ
ให้ตึงหรือหย่อนได้ตามความต้องการ
ประโยชน์ 
       1. ใช้ผูกเสาเต็นท์ ยึดเสาธงกันล้ม ใช้รั้งต้นไม้
       2. เป็นเงื่อนเลื่อนให้ตึงหรือหย่อนตามความต้องการ

วิธีการตัดผมนักเรียน : พงศ์ศิริ คำพา

วิธีการตัดผมนักเรียน

ทรงผมนักเรียน
เรียนวันเดียวตัดผมนักเรียนเป็น
สวยงาม-รวดเร็ว
ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน
เรียนแบบใหม่ เรียนแบบเร่งลัด ตัดจากคนจริง




ทรงผมนักเรียนมี 4 ชนิด
1.ทรงนักเรียนผมสั้น

2.ทรงนักเรียนธรรมดา

3.ทรงนักเรียนผมยาว

4.ทรงนักเรียนประยุกต์


ทรงนักเรียนประยุกต์
เน้นด้านบนยาวสไตส์ชายชนะ

ทรงนักเรียนประยุกต์
เน้นจอนเล็กแหลมสไตส์ชายชนะ

ทรงนักเรียนประยุกต์
ด้านบนยาวไม่ไว้จอน


รอตัดผมกันมากมายรึนี่


เรียนตัดผมทรงนักเรียน
เรียนตัดผมนักเรียนแบบเร่งลัดกับชายชนะ

วันเดียว

ตัดได้เหมือนในภาพ



จุดประสงค์การเรียนตัดผมทรงนักเรียน
ผู้เรียนสามารถตัดผมทรงนักเรียนได้ถูกต้อง
ผู้เรียนสามารถตัดผมทรงนักเรียนได้สวยงาม
ผู้เรียนสามารถตัดผมทรงนักเรียนเป็นภายใน 3 ศีรษะ


 ทรงนักเรียนชนิดสั้น


 ทรงนักเรียนชนิดยาว


 ทรงนักเรียนลานบิน


 เลือกเรียนให้ถูกที่
เรียนตัดผมทรงนักเรียนกับชายชนะ
เน้นเรียนตัดผมจากคนจริง
มีนายแบบให้ตัดมากมาย



ชายชนะ ครูสอนตัดผมซอยผมมืออาชีพ

ทรงผมแบ่งออกได้สามประเภทด้วยกัน
1.ทรงผมชาย 
2.ทรงผมแนวซาลอน (ทรงผมวัยรุ่น)
3.ทรงผมหญิง

ทรงผมชาย
1.ผมทรงสูง ( ทรงผมสั้น )
ทรงนักเรียน ทรงรองหวี ทรงลานบิน ทรงสกินเฮด
2.ผมทรงกลาง
รองทรงสูง รองทรงธรรมดา รองทรงต่ำ 
3.ผมทรงต่ำ
ซอยจอนบาง ซอยจอนหนา ทรงเสย ทรงรากไทร
ผมทรงนักเรียนชาย
ทรงผมสั้นๆผู้ชาย เป็นทรงผมเก่าแก่ของไทย ที่มีประวัติการไว้ผมทรงนี้ มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงผมนี้คือทรงมหาดไทยนั้นเอง ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ช่วงกลางๆผมทรงมหาดไทยได้พัฒนากลายมาเป็น ทรงผมนักเรียน ๆจึงเป็นทรงผมที่ทางราชการ ใช้เป็นระเบียบในกรมทหาร-ตำรวจ กรมราชทัณฑ์และโรงเรียนของรัฐบาลเรื่อยๆมา ดังนั้นทรงนักเรียน จึงสามารถหาดูได้ จากการไว้ผมของเด็กนักเรียนของโรงเรียนรัฐบาลและหมู่คนที่ชอบผมสั้น

 ตัดผมได้ดีเป็นเร็ว

ตัดผมด้านบนของทรงนักเรียน
1.จัปปัตตาเลี่ยนได้ถูกต้อง
2.ใช้หวีใหญ่ได้ถูกต้อง
3.ผู้เรียนยืนตัดผมถูกทิศทาง

 ตัดผมด้านบน


 ตกแต่งขอบ


 วางหวีแนวนอน



ด้านบนวางหวีแนวนอน


 ด้านหน้ายกหวีขึ้น


 ปัตตาเลี่ยนแนบหวี


 เรียนง่ายด้วยครูสอนชำนาญ


ตัดผมนักเรียน..หล่อทันใจ




ตัดผมนักเรียนเป็นภายในวันเดียว












ผมทรงนักเรียน


ตัดผมเป็นขอบแล้วทำไงต่อ?




วิธีการเก็บขอบผมทรงนักเรียน

1.ใช้หวีใหญ่รองปัตตาเลี่ยนไถบนหวี

2.ใช้หวีเล็กรองปัตตาเลี่ยนไถบนหวี


3.ใช้ปัตตาเลี่ยนตะแคงเก็บขอบ


 4.ด้านหลังใช้หวีใหญ่รอง


5.ใช้หวีเล็กรองปัตตาเลี่ยนไถ


6.ตะแคงปัตตาเลี่ยนเก็บขอบ


7.ด้านขวาหวีใหญ่รอง


8.หวีเล็กแต่งขอบ


แต่งขอบเสร็จแล้ว


เรียนทรงนักเรียนวันเดียวเป็นhttp://thaitophair.blogspot.com/p/blog-page_13.html