วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

การฝึกสมาธิ

วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้
  1. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีลห้า หรือศีลแปด เพื่อย้ำความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง
  2. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึกถึงความดีที่ได้กระทำไว้ดีแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่จะตั้งใจทำต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดีล้วนๆ
  3. นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังเข้าไปสู่สภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง
  4. นึกกำหนดนิมิต เป็นดวงกลมใส ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า "บริกรรมนิมิต" นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆน้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆกับคำภาวนา
ฐานที่ตั้งของใจทั้ง 7 ฐาน
  • ฐานที่ 1 ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา
  • ฐานที่ เพลาตา หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา
  • ฐานที่ จอมประสาท
  • ฐานที่ ช่องเพดานปาก
  • ฐานที่ ปากช่องลำคอ
  • ฐานที่ ศูนย์กลางกาย ระดับสะดือ
  • ฐานที่ ศูนย์กลางกาย ที่ตั้งของใจถาวร เหนือสะดือสองนิ้วมือ
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆกับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นปรากฏที่อื่นที่ไม่ใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆน้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆอีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า "ดวงธรรม" หรือ "ดวงปฐมมรรค" อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่งมรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทำได้ในทุกแห่ง ทุกที่ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำภารกิจใดๆ
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ดวงปฐมมรรค ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงที่ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกถึงอยู่เสมอ อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับอีกด้วย
เทคนิคเบื้องต้นในการทำสมาธิ
  1. หลับตาเบาๆ ผนังตาปิด 90%
  2. อย่าบังคับใจ เพียงตั้งสติ วางใจเบาๆ ณ ศูนย์กลางกาย กำหนดนิมิตเป็น ดวงแก้วใสๆ...เบาๆหรือ องค์พระใสๆ...เบาๆ หรือ ลมหายใจ เข้า-ออก...เบาๆ หรือ อาการท้อง พอง-ยุบ...เบาๆ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. กำหนดนิมิต นึกนิมิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นกุศโลบายล่อใจให้เข้ามาตั้งมั่นในกาย
  4. เมื่อใจเข้ามาหยุดนิ่งในกาย การกำหนดนิมิตก็หยุดโดยอัตโนมัติ
  5. รับรู้การเปลี่ยนแปลงภายในกายและจิตใจ ด้วยความสงบ
  6. อยู่ในความดูแลของกัลยาณมิตรอย่างใกล้ชิด
หลักการฝึกสมาธิ
  1. น้อมใจมาเก็บไว้ ณ ศูนย์กลางกาย แต่ละครั้งเก็บใจไว้ให้นานที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยมีใจตั้งมั่นภายใน
  2. มีสติกำกับใจตลอดเวลา ทำให้ระลึกรู้ตัวอยู่เสมอ ไม่ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆ (เช่น ในคำสรรเสริญ เยินยอ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง ฯลฯ)
  3. ตั้งใจฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลาเป็นประจำ
  4. มีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถจริง คอยควบคุม ให้คำแนะนำ อย่างใกล้ชิด
ข้อควรระวัง
  1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดของร่างการก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
  2. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอจากบริกรรมภาวนา และบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้
  3. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง อาโลกกสิณ คือ กสิณความสว่าง เป็นบาทเบื้องต้น
  4. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืน เดิน นอน หรือนั่ง อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใส หรือองค์พระแก้วใส ควบคู่กันไปตลอด
  5. นิมิตต่างๆที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นมาใหม่อีก
การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประครองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากสามารถแนะนำต่อๆกันไป ขยายไปยังเหล่ามนุษยชาติอย่างไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

แรงโน้มถ่วง

ความโน้มถ่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความโน้มถ่วงทำให้ดาวเคราะห์ต่างๆ ยังคงหมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน)
ความโน้มถ่วง (อังกฤษgravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน
นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น

ระบบห่วงโซอาหาร


ห่วงโซอาหาร                

 

รูปที่ 1.2 ห่วงโซ่อาหาร

        พลังงานทั้งหลายในระบบนิเวศนี้เกิดจากแสงอาทิตย์ พลังงานแสงถูกถ่ายทอดโดยเปลี่ยนรูปเป็นพลังงานศักย์  สะสมไว้ในสารอาหาร ซึ่งเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง แล้วถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้บริโภคลำดับต่างๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนในรูปแบบที่เรียกว่า สายใยอาหาร  (food web)
 รูปที่ 1.3 สายใยอาหาร
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต

             ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน

           เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ  จึงมีการใช้เครื่องหมายต่อไปนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยรวมกัน

+ หมายถึง การได้ประโยชน์จากอีกฝ่ายหนึ่ง
-  หมายถึง การเสียประโยชน์ให้อีกฝ่ายหนึ่ง
0 หมายถึง การไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ 
         ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
         1. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองชนิด ใช้สัญลักษณ์ +, + เช่น
              • แมลงกับดอกไม้ แมลงดูดน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร และดอกไม้ก็มีแมลงช่วยผสมเกสร
              • นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าง ๆ จากหลังควาย และควายก็ได้นกเอี้ยงช่วยกำจัดแมลงที่มาก่อความรำคาญ
              • มดดำกับเพลี้ย เพลี้ยได้รับประโยชน์ในการที่มดดำพาไปดูดน้ำเลี้ยงที่ต้นไม้ และมดดำก็จะได้รับน้ำหวาน
              • ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea  anemone) ปูเสฉวนอาศัยดอกไม้ทะเลพรางตัวจากศัตรูและยังอาศัยเข็มพิษจากดอกไม้ทะเลป้องกันศัตรู ส่วนดอกไม้ทะเลก็ได้รับอาหารจากปูเสฉวนที่กำลังกินอาหารด้วย
              • ไลเคน (lichen) คือ การดำรงชีวิตร่วมกันของรากับสาหร่าย ซึ่งเป็นการอยู่แบบที่สิ่งมีชีวิตทั้ง 2 ชนิดต่างก็ได้รับประโยชน์ สาหร่ายมีสีเขียวสร้างอาหารเองได้โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงแต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ส่วนราได้รับธาตูอาหารจากสาหร่าย ได้แก่ ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจน  นอกจากนั้นราบางชนิดอาจสร้างสารพิษ  ซึ่งป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นกินไลเคนเป็นอาหาร  และรายังสร้างกรดช่วยในการละลายหินและเปลือกไม้  ทำให้ไลเคนดูดซับธาตุอาหารได้ดี

รูปที่ 1.4 ความสัมพันธ์แบบ mutualism ระหว่างราและสาหร่าย

              •  แบคทีเรียไรโซเบียม  (Rhizobium)  ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว  ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่รากถั่ว  ในขณะเดียวกันแบคทีเรียก็ได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่ธาตุจากต้นถั่ว 
รูปที่ 1.5 ปมรากถั่วซึ่งภายในมีแบคทีเรียไรโซเบียม
              • โปรโตซัวในลำไส้ปลวก  ปลวกไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยเซลลูโลสในเนื้อไม้ โปรโตซัวช่วยในการย่อย จนทำให้ปลวกสามารถกินไม้ได้ และโปรโตรซัวก็ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายเซลลูโลสด้วย

รูปที่ 1.6 โปรโตซัวในลำไส้ปลวกช่วยย่อยเซลลูโลส
              • แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในสำไส้ใหญ่ของคน  แบคทีเรียได้รับอาหารและที่อยู่อาศัยจากลำไส้ของคน ส่วนคนจะได้รับวิตามินบี 12 จากแบคทีเรีย

         2. ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล  (commensalism)  เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์  (+,0) เช่น

              •  ปลาฉลามกับเหาฉลาม  เหาฉลามอาศัยอยู่ใกล้ตัวปลาฉลามและกินเศษอาหารจากปลาฉลาม ซึ่งปลาฉลามจะไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์
              •  พลูด่างกับต้นไม้ใหญ่  พลูด่างอาศัยร่มเงาและความชื้นจากต้นไม้โดยต้นไม้ไม่ได้ประโยชน์แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เสียประโยชน์อะไร
              •  กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่  กล้วยไม้ยึดเกาะที่ลำต้นหรือกิ่งของต้นไม้ซึ่งได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากต้นไม้ โดยที่ต้นไม้ไม่ได้รับประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์อะไร
              •  เพรียงที่อาศัยเกาะบนผิวหนังของวาฬเพื่อหาอาหาร  วาฬไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ 


รูปที่   1.7 ปลาฉลามกับเหาฉลาม

รูปที่ 1.8 กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่

         3. ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ใช้สัญลักษณ์ +, - ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

               ก.  การล่าเหยื่อ  (predation) เป็นความสัมพันธ์โดยมีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า  (predator)  และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหยื่อ (prey) หรือเป็นอาหารของอีกฝ่าย เช่น งูกับกบ

               ข.  ภาวะปรสิต  (parasitism) เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เบียดเบียน  เรียกว่า ปรสิต (parasite) และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน (host)
                      • ต้นกาฝากเช่น  ฝอยทองที่ขึ้นอยู่บนต้นไม้ใหญ่ จะดูดน้ำและอาหารจากต้นไม้ใหญ่
                      • หมัด เห็บ ไร พยาธิต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่กับร่างกายคนและสัตว์
                      • เชื้อโรคต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดโรคกับคนและสัตว์
                นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์แบบภาวะมีการย่อยสลาย (saprophytism) ใช้สัญลักษณ์ +, 0 เป็นการดำรงชีพของกลุ่มผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ เช่น เห็ด รา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์

รูปที่ 1.9 รูปเห็ด



รูปที่ 1.10 รูปแบคทีเรีย
            
             การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหาร
               การถ่ายทอดพลังงาน  ในห่วงโซ่อาหารอาจแสดงในในลักษณะของสามเหลี่ยมปิรามิดของสิ่งมีชีวิต (ecological pyramid) แบ่งได้  3 ประเภทตามหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของลำดับขั้นในการกิน

1. ปิรามิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต (pyramid of number)

        แสดงจำนวนสิ่งมีชีวิตเป็นหน่วยตัวต่อพื้นที่  โดยทั่วไปพีระมิดจะมีฐานกว้างซึ่งหมายถึง  มีจำนวนผู้ผลิตมากที่สุด และจำนวนผู้บริโภคลำดับต่างๆ ลดลงมา  


   
 รูปที่ 1.11 ปิรามิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต
       แต่การวัดปริมาณพลังงานโดยวิธีนี้  อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์  ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  เช่นไส้เดือน จะนับเป็นหนึ่งเหมือนกันหมด  แต่ความเป็นจริงนั้นในแง่ปริมาณพลังงานที่ได้รับหรืออาหารที่ผู้บริโภคได้รับจะมากกว่าหลายเท่า   ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูปแบบในรูปของปิรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต

2.ปิรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass)

         โดยปิรามิดนี้แสดงปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการกินโดยใช้มวลรวมของน้ำหนักแห้ง (dry weight) ของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่แทนการนับจำนวน ปิรามิดแบบนี้มีความแม่นยำมากกว่าแบบที่ 1 แต่ในความเป็นจริงจำนวนหรือมวลของสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา เช่น ตามฤดูกาลหรือ  ตามอัตราการเจริญเติบโต  ปัจจัยเหล่านี้ จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ  





  รูปที่ 1.12 ปิรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต

      อย่างไรก็ดีถึงแม้มวลที่มากขึ้นเช่นต้นไม้ใหญ่ จะผลิตเป็นสารอาหารของผู้บริโภคได้มาก   แต่ก็ยังน้อยกว่าที่ผู้บริโภคได้จากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ  เช่น  สาหร่ายหรือแพลงก์ตอน  ทั้งๆที่มวล หรือปริมาณของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนน้อยกว่ามาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแนวความคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยในการเสนอรูปของปิรามิดพลังงาน ( pyramid of energy)


         
  รูปที่ 1.13 การกินเป็นทอดๆ

3. ปิรามิดพลังงาน ( pyramid of energy)

     เป็นปิรามิดแสดงปริมาณพลังงานของแต่ละลำดับชั้นของการกินซึ่งจะมีค่าลดลงตามลำดับขั้นของการโภค จากลำดับที่ 1 ไป 2 ไป 3 และ 4 ดังแสดงในรูป

 รูปที่ 1.14 ปิรามิดพลังงาน
       ในระบบนิเวศ  ทั้งสสารและแร่ธาตุต่างๆ จะถูกหมุนเวียนกันไปภายใต้เวลาที่เหมาะสม  และมีความสมดุล ซึ่งกันและกันวนเวียนกันเป็นวัฏจักรที่เรียกว่า  วัฏจักรของสสาร (matter cycling) ซึ่งเปรียบเสมือนกลไกสำคัญ ที่เชื่อมโยงระหว่างสสารและพลังงานจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีวิตแล้วถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของการกินต่อกันเป็นทอดๆ  ผลสุดท้ายวัฎจักรจะสลายในขั้นตอนท้ายสุดโดยผู้ย่อยสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติ  วัฏจักรของสสารที่มีความสำคัญต่อสมดุลของระบบนิเวศ  ได้แก่ วัฎจักรของน้ำ  วัฎจักรของไนโตรเจน วัฎจักรของคาร์บอนและ วัฎจักรของฟอสฟอรัส

ปรากฏการณ์สุริยุปราคา

สุริยุปราคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคาเต็มดวง พ.ศ. 2542
สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง[1] โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
        ปรากฏการณ์จันทรุปราคาหรืออุปราคาของดวงจันทร์ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวของดวงจันทร์ มืด หรือจางลงในชั่วเวลาหนึ่ง ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลก ซึ่งทำให้ผู้สังเกตบนโลกเห็นดวงจันทร์เป็นสีค่อนข้างคล้ำออกแดง หรือน้ำตาล ทั้งยังเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ให้ความสำคัญมาเป็นเวลาช้านานแล้ว และได้มีการศึกษาบันทึกปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้อย่างละเอียดชัดเจน นับตั้งแต่ยุคสมัยบาบิโลนเฟื่องฟู (อยู่ในแถบตะวันออกกลางปัจจุบัน) นักดาราศาสตร์โบราณของบาบิโลนได้ทำการศึกษาปรากฏการณ์จันทรุปราคา และสามารถคำนวณการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ และที่น่าแปลกใจมากกว่านั้นยังมีการค้นพบรอบการเกิดของปรากฏการณ์จันทรุปราคา ที่เรียกกันในปัจจุบันว่าชุดการเกิดจันทรุปราคา หรือ ซารอส (Saros) จากบันทึกของชาวบาบิโลนทำให้เราสามารถคำนวณปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ล่วงหน้า หรือย้อนกลับไปในอดีตได้ จนถึงบริเวณที่สามารถสังเกตเห็นปรากฏการณ์ได้อย่างแม่นยำ (ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงหลักการคำนวณการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา) 
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาและความเชื่อของประเทศไทย
        คนไทยในอดีตมีความเชื่อเกี่ยวกับดวงจันทร์ที่เกิดเป็นสีแดงคล้ำนี้แตกต่างกันไปตามความเชื่อของท้องถิ่น แต่ก็มีบางส่วนที่คลายๆ กันก็ถือว่าเป็นลางบอกเหตุที่ไม่ดีทั้งสิ้น และจะต้องช่วยกันไล่ให้พระราหู (เงาของโลก) หรือกบนั้นคายดวงจันทร์ออกมา โดยการตีปีบ เคาะไม้ หรือทำเสียงดัง บางท้องถิ่นก็เชื่อว่าในระหว่างที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาให้เอามีดพร้าเฉาะลงบนเปลือกไม้ เพื่อให้ต้นไม้ออกลูกผลดี แต่การที่ดวงจันทร์มีสีแดงคล้ำนี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั่วไป และปรากฏการณ์จันทรุปราคายังมีชื่อเรียกอื่นอีก เช่น จันทรคราส หรือ จันทรคาธ และยังถูกเรียกในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไปตามตารางที่ 1 

ตารางที่ 1 ชื่อของปรากฏการณ์จันทรุปราคาตามท้องที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย
ภาค
ชื่อเรียก
หมายเหตุ
เหนือ
จคาสกิ๋นเดือน*
กบกิ๋นเดือน
กลาง
ราหูอมจันทร์
จันทรุปราคา
ตะวันออกเฉียงเหนือ
กบกินอีเกิ้น**
กบกินเดือน
ใต้
เดือนเป็นจันทร์***

 
หมายเหตุ :    
* ผู้เขียนเคยได้ยินมาจากปู กับ ย่า ซึ่งเป็นคนยองที่อาศัยในอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
** ผู้เขียนได้ข้อมูลมาจากการสอบถาม อ. บูลวัชร ไชยเดช ครูสอนที่โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) จังหวัดมหาสารคาม
*** ผู้เขียนได้ข้อมูลมาจาก อ.เฉลิมชน วรรณทอง ประธานโปรแกรมวิชาฟิกส์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 

และยังมีหลายคนเรียกว่า “ดวงจันทร์สีเลือด หรือพระจันทร์สีเลือด” อยู่บ้าง

การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา และปัจจัยต่างๆ 
        ปรากฏการณ์จันทรุปราคา และปรากฏการณ์สุริยุปราคานั้นมีหลักการเกิดคล้ายๆ กันก็คือ เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์เรียงอยู่ในแนวระนาบเดียวกันพอดี โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคานั้น โลกจะอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะเกิดในช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวง โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงาของโลก และเมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกแล้วดวงจันทร์จะค่อยๆ แหว่งไปทีละน้อยจนมืดทั้งดวง และเริ่มโผล่อีกครั้งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านพ้นออกมาจากเงาของโลก

รูปที่ 1 แสดงตำแหน่งของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา

ปัจจัยในการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
        วงโคจรของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลกมีลักษณะเป็นวงรี ซึ่งระยะห่างระหว่างตำแหน่งของดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (Perigee) โดยเฉลี่ยประมาณ 362,570 กิโลเมตร (356,400 – 370,400 กิโลเมตร) และระยะห่างระหว่างตำแหน่งของดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด (Apogee) โดยเฉลี่ยประมาณ 405,410 กิโลเมตร (404,000 – 406,700 กิโลเมตร) จากจุดทั้ง 2 มีระยะทางต่างกันประมาณ 42,840 กิโลเมตร ความแตกต่างของระยะทางนี้เองที่ทำให้เงาของโลกที่ทอดบนผิวของดวงจันทร์มีความแตกต่างกันในแต่ละครั้งที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา เช่น ในกรณีที่โลกและดวงจันทร์อยู่ใกล้กัน เงาที่เกิดขึ้นจะมีขนาดใหญ่ และมีเงามืดเป็นบริเวณกว้าง ทำให้การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน และมีค่าความสว่างของดวงจันทร์ขณะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงมีค่าแตกต่างกันไป
        นอกจากนี้หากดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากโลกมากที่สุด จะทำให้ระยะเวลาในการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคานานขึ้น ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ
        1. ณ ตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกมากที่สุด ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ช้ากว่าตำแหน่งอื่นๆ เพราะตำแน่งนี้เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ช้าที่สุดในวงโคจรรอบโลก (ตามกฏของเคปเลอร์)
        2. ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ที่ตำแหน่งไกลโลกมากที่สุด เราจะสังเกตมองเห็นดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า ตำแหน่งขณะที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด ดวงจันทร์จะเคลื่อนที่ผ่านเงาของโลกไปอย่างช้า ทำให้อยู่ในเงามืดนานขึ้น

(ก)                                                                (ข)
รูปที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์ (ก) ตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกที่สุด (Apogee) และ (ข) ตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกที่สุด (Perigee) (ภาพถ่ายโดย คุณศุภฤกษ์ คฤหานนท์)

วงโคจรของดวงจันทร์ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
        คาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกใช้เวลา 27.322 วัน และคาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.256 วัน ในรอบ 1 เดือน จะเกิดดวงจันทร์เต็มดวง 1 ครั้ง และใน 1 ปี จะมีดวงจันทร์เต็มดวง 12 ครั้ง บางปี ก็มีดวงจันทร์เต็มดวงถึง 13 ครั้ง ซึ่งบางเดือนที่มีดวงจันทร์เต็มดวง 2 ครั้ง เรียกว่า บูลมูน (Blue moon) ในปีนั้นจะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคามากถึง 4 ครั้ง และส่วนใหญ่เป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน และปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว แต่ไม่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง

 
(ก)                                                           (ข)
รูปที่ 3 แสดงวงโคจรของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลก และดวงอาทิตย์ 
(ก) วงโคจรของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์เมื่อมองจากด้านบน (2 มิติ)
(ข) วงโคจรของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้านข้าง (3 มิติ)

เงาของโลก
        การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา องค์ประกอบที่สำคัญประกอบด้วย 3 วัตถุ คือ ดวงอาทิตย์ (แหล่งกำเนิดแสง) โลก (เงาของโลก) และดวงจันทร์ (ฉากรับ) เงาของโลกคือ ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคานี้ ซึ่งเงานี้เกิดจากแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก และทำให้เกิดเงาทอดไปในอวกาศ ซึ่งไม่มีฉากรับ จึงทำให้เราไม่สามารถสังเกตเห็นเงาของโลกได้โดยตรง และเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเงาของโลกซึ่งทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของโลกได้บางส่วน (เงาในส่วนที่ทอดลงบนผิวของดวงจันทร์) ในการเกิดเงาของโลกนั้นก็มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วนคือ เงาส่วนที่เป็นเงามืด (Umbra Shadow) เงาของโลกส่วนที่เป็นเงามืด มีลักษณะเป็นกรวยแหลมทอดยาวไปในอวกาศ และเงาส่วนที่เป็นเงามัว (Penumbra Shadow) เงาของโลกส่วนที่เป็นเงามัว ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 เขต คือ เงามัวส่วนนอก และเงามัวส่วนใน ซึ่งทั้ง 2 เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ดังรูปที่ 5

รูปที่ 4 แสดงเรขาคณิตในการเกิดเงาส่วนที่เป็นเงามัว และเงาส่วนที่เป็นเงามืด

ลำดับความสว่างจันทรุปราคาของแดนจอน
        นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ แอนเดร์ หลุยส์ แดนจอน (André-Louis Danjon) ได้เสนอการจัดเรียงลำดับของจันทรุปราคาไว้ 5 ระดับ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสว่างของดวงจันทร์ในช่วงขณะที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง โดยใช้สัญลักษณ์ความสว่าง (Luminosities) เป็นตัวแอล “L” สำหรับค่าความสว่างต่างๆ มีการกำหนดดังต่อไปนี้
        โดยเมื่อค่า
                L = 0  จันทรุปราคาเต็มดวงมีความมืดมากเกือบจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณตรงกลางของจันทรุปราคาเต็มดวง
                L = 1 จันทรุปราคาเต็มดวงมีความมืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนในการแยกนั้นค่อนข้างลำบาก
                L = 2 จันทรุปราคาเต็มดวงเห็นเป็นสีแดงเข้มหรือสีสนิมคราส บริเวณศูนย์กลาง เงาสีเข้มมาก ในขณะที่ขอบนอกของเงามัว ค่อนข้างสดใส
                L = 3 จันทรุปราคาเต็มดวงเห็นเป็นสีแดงอิฐ เงามัวมักจะมีขอบหรือสีเหลืองสดใส
                L = 4  จันทรุปราคาเต็มดวงที่เห็นจะสว่างมาก มีสีทองแดงหรือสีส้ม เงามัวมีสีฟ้า ขอบของดวงจันทร์มีความสว่างมาก

 
L = 0                                                  L = 1

 
L = 2                                                   L = 3

L = 4
รูปที่ 5 แสดงลำดับความสว่างของปรากฏการณ์จันทรุปราคาของแดนจอน ที่ลำดับค่า L ต่างๆ

        การกำหนดของค่าความสว่าง “L” ของจันทรุปราคานั้นจะทำได้ดีที่สุดด้วยตาเปล่า กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก เมื่อเวลาที่ดวงจันทร์เกิดอุปราคาเต็มดวง และดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาของโลก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในการตรวจสอบลักษณะที่ปรากฏของดวงจันทร์ หลังจากจุดเริ่มต้นและก่อนสิ้นปรากฏการณ์ ดวงจันทร์จะอยู่ใกล้ขอบของเงา และเปิดโอกาสให้ผู้สังเกตกำหนดค่า “L” ของค่าเงามัว ด้านนอกได้
        ในการประเมินผลใดๆ ที่เราบันทึกทั้งจากเครื่องมือและเวลา นอกจากนี้เราต้องทราบรูปแบบการเกิดของปรากฏการณ์จันทรุปราคาใดๆ สีและความสว่างในส่วนต่างๆ ของเงา รวมทั้งความคมชัดของขอบเงาที่เกิดบนผิวของดวงจัทร์ การสังเกตปรากฏการณ์จันทรุปราคานั้นเราควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของเงาขณะที่เกิดอุปราคา

ลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
        ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงจะเริ่มต้นด้วยปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวก่อน และตามมาด้วยปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกหมดทั้งดวง เรียกว่าเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เมื่อดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด ดวงจันทร์ก็จะเริ่มสว่างขึ้นทีละน้อยจนสว่างทั้งดวง และเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านพ้นเงามืดของโลก ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงก็สิ้นสุดลง โดย ลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะกำหนดจากระยะเวลาในช่วงระหว่างขณะการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา และปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงสามารถแบ่งออกเป็น 7 ช่วง ด้วยกัน คือ
        1. P1 สัมผัสที่ 1 (First contact) เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามัวของโลกครั้งแรก และเริ่มเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนเงามัว ซึ่งเป็นช่วงที่สังเกตยากมากที่สุด เพราะแสงสว่างจากดวงจันทร์แทบจะไม่มีการลดลงเลย
        2. U1 สัมผัสที่ 2 (Second Contact) จุดเริ่มต้นของการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์เริ่มสัมผัสขอบด้านนอกเงามืดของโลกครั้งแรก และเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนเงามืด ในช่วงนี้ดวงจันทร์จะเริ่มแหว่งไปช้าๆ
        3. U2 สัมผัสที่ 3 (Third Contact) จุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์จะอยู่ภายในเงามืดของโลกอย่างสมบูรณ์ แสงสว่างจากดวงจันทร์จะลงลดจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด 
        4. กึ่งกลางอุปราคา (Greatest eclipse) เป็นจุดที่ดวงจันทร์เข้าไปอยู่กึ่งกลางเงามืดของโลก ซึ่งในการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในแต่ละครั้งจุดกึ่งกลางอุปราคา จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ ว่าอยู่ในช่วงไหนของซารอสนั้นๆ และยังเป็นบริเวณที่แสงจากดวงจันทร์ลดลงมากที่สุด
        5. U3 สัมผัสที่ 4 (Fourth Contact) จุดสุดท้ายของปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง เป็นจุดที่ดวงจันทร์จะเริ่มออกจากเงามืดของโลก แสงสว่างของดวงจันทร์เริ่มปรากฏขึ้น และกลายเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนอีกครั้ง
        6. U4 สัมผัสที่ 5 (Fifth contact) จุดสิ้นสุดของปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์ออกจากเงามืดของโลกทั้งดวง และเริ่มเห็นดวงจันทร์เต็มดวงอีกครั้ง
        7. P2 สัมผัสที่ 6 (Sixth contact) จุดสุดท้ายของปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนเงามัว เป็นจุดที่ดวงจันทร์จะผ่านพ้นเงามัวของโลกหมดทั้งดวงอย่างสมบูรณ์ และดวงจันทร์จะสว่างขึ้นดังเดิม

รูปที่ 6 ภาพจำลองลำดับการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา เมื่อปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ในวันที่ 4 เมษายน 2558
        ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งแรกและครั้งเดียวที่คนไทยจะได้เห็นในปี พ.ศ. 2558 นี้ ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันที่ 4 เมษายน 2558 โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งนี้ เป็นชุดซารอสที่ 132 ซึ่งเกิดเป็นครั้งที่ 30 ของซารอส จากทั้งหมด 71 ครั้ง โดยปรากฏการณ์จันทรุปราคาชุดซารอสที่ 132 เกิดครั้งล่าสุดเมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2540 หรือเมื่อ 18 ปีก่อน สำหรับในปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ใช้เวลารวมหมดในการเกิดอุปราคาทั้งหมดประมาณ 209 นาที หรือ 3 ชั่วโมง 31 นาที ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกกินเวลาเวลาถึง 96 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 36 นาที และในครั้งนี้ (16 มิถุนายน 2554) จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา โดยใช้เวลารวมทั้งหมดในการเกิดอุปราคาประมาณ 3 ชั่วโมง 29 นาที และขณะที่ดวงจันทร์จะอยู่ในเงามืดของโลกนานประมาณ 5 นาที ความสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเหลือเพียง 1.0008 
        ซึ่งปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มในวันที่ 4 เมษายน 2558 นี้ เกิดขึ้นก่อนที่ดวงจันทร์จะขึ้นโผล่พ่นจากจขอบฟ้า

ตารางที่ 2 เวลาเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในประเทศไทย วันที่ 4 เมษายน 2558
เหตุการณ์
เวลา (น.)
หมายเหตุ
เริ่มเกิดอุปราคาเงามัว (P1)
16:01
ไม่เห็น
เริ่มเกิดอุปราคาบางส่วน (U1)
17:15
ไม่เห็น
เริ่มเกิดอุปราคาเต็มดวง (U2)
18:57
ไม่เห็น
ดวงจันทร์อยู่กึ่งกลางคลาส
19:00
เห็น
สิ้นสุดอุปราคาเต็มดวง (U3)
19:03
เห็น
สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน (U4)
20:44
เห็น
สิ้นสุดอุปราคาเงามัว (P4)
21:58
เห็น

รูปที่ 7 แสดงตำแหน่งของดวงจันทร์ในระหว่างการเกิดจันทรุปราคา ในวันที่ 4 เมษายน 2558

วงจรไฟฟ้าต่างๆ

วงจรไฟฟ้า (Electrical Circuit)

     ในวงจรไฟฟ้าทั่ว ๆ ไปจะมีสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง 3 อย่าง คือ กระแสไฟฟ้า   แรงดันไฟฟ้า   และความต้านทานไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าจะไหลไปได้หรือเคลื่อนท
ี่ไปได้จะต้องมีตัวนำหรือสายไฟฟ้า และจะต้องมีกำลังดันหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า(V)
ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลไป จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ตัวนำ และความต้านทานประกอบกัน
     วงจรไฟฟ้า คือ ทางเดินของไฟฟ้าเป็นวง ไฟฟ้าจะไหลไปตามตัวนำหรือสายไฟจนกระทั่งไหลกลับตามสายมายัง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นวงครบรอบ คือ ออกจากเครื่องกำเนิดแล้วกลับมายังเครื่องกำเนิดอีกครั้งหนึ่ง จนครบ 1 เที่ยว
เรียกว่า  1 วงจร หรือ 1 Cycle


      วงจรไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

      1. วงจรปิด (Closed Circuit) จากรูปจะเห็น กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่าน
สวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะ
เห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด

                                    

      2. วงจรเปิด (Open Circuit) ถ้าดูตามรูป วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม
สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหล
ผ่านให้ครบวงจรได้

                                   

      การที่กระแสไฟฟ้าจะไหลครบวงจรได้นั้น ต้องประกอบด้วย

      1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ หรือเยนเนอเรเตอร์
      2. ตัวนำไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟฟ้า
      3. ความต้านทาน ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้กับไฟฟ้าทุกชนิด
      4. สะพานไฟ (Cut out) หรือสวิทช์ (Switch) เป็นตัวตัดและต่อกระแสไฟฟ้า

                        ดังนั้นวงจรไฟฟ้าก็คือ " การไหล หรือ ทางเดินของไฟฟ้านั่นเอง "

โมเมนต์

ต์
                  โมเมนต์ (Moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทา ต่อวัตถุหมุนไปรอบจุดคงที่ ซึ่งเรียกว่าจุดฟัลคัม(Fulcrum)   ค่าของโมเมนต์ หาได้จากผลคูณของแรงที่มากระทา กับระยะที่วัดจากจุดฟัลครัมมาตั้งฉากกับแนวแรง
สูตร M = F x S 
หรือ
 

ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ
1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
    คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทา ที่ปลายคาน A จะเกิดโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา



2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
    คาน A B มีจุดหมุนที่ F มีแรงมากระทา ที่ปลายคาน B จะเกิดโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา



รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์



จากภาพ F เป็นจุดหมุน เอาวัตถุ W วางไว้ที่ปลายคานข้างหนึ่ง ออกแรงกดที่ปลายคานอีกข้างหนึ่ง เพื่อให้ไม้อยู่ในแนวระดับพอดี
-  โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
-  โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)
___________________________________________________________
 • กฎของโมเมนต์  •
เมื่อวัตถุหนึ่งถูกกระทา ด้วยแรงหลายแรง แล้วทา ให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุล (ไม่เคลื่อนที่และไม่หมุนจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา