วิธีสังเกตคำเขมร
๑. คำเขมรที่เป็นคำโดดเหมือนคำไทยก็มี แต่เป็นคำที่เป็นคำศัพท์ คือ มีความหมายเข้าใจยาก ต้องแปล เช่น
อวย = ให้ แข = พระจันทร์ ได = มือ
นัก = เจ้า เลิก = ยก แสะ = ม้า
มาน = มี ทูล = บอก บาย = ข้าว
๒. คำเขมรมักสะกดด้วยตัว จ ญ ร ล ส เช่น เสด็จ เจริญ เดิร (ไทยใช้เดิน) เถมิร (ไทยใช้ เถมิน = ผู้เดิน) จรัล จรัส จัส (ไทยใช้ จัด = มาก, แรง, เข้ม, แก่)
๓. คำเขมร มักเป็นคำราชาศัพท์ในภาษาไทย เช่น บรรทม – นอน เสด็จ – ไป เขนย – หมอน
๔. คำเขมรมักเป็นคำแผลง เช่น บังเกิด แผลงจาก เกิด ชำร่วย แผลงจาก ช่วย ขจาย แผลงจาก กระจาย เป็นต้น
๕. คำเขมรมักขึ้นต้นด้วย กระ (แผลงจาก ข) ประ (แผลงจาก ผ และ บรร) สระอำ (แผลงจากสระอื่น) เช่น
กระดาน (ขดาน) กระโดง (ขโดด) กระจอก (ขจอก)
กระจาย (ขจาย) ประสม (ผสม) ประสาน (ผสาน)
ประจญ (ผจญ) ประกาย (ผกาย) ประทม (บรรทม)
ประทุก (บรรทุก) บรรจุ (ประจุ) สำรวล (สรวล)
สำเร็จ (เสร็จ) สำราญ (สราญ) อำนาจ (อาจ)
๖. คำเขมรมักขึ้นต้นด้วย บัง บัน บำ เพราะคำเดิมมีคำว่า บํ อยู่หน้า ไทยใช้เป็น บัง บัน หรือ บำ เช่น
บังคับ บังคม บังเกิด บังอาจ บันได บันดาล
บันลือ บำเพ็ญ บำเหน็จ บำบัด
๗. คำที่มี ๒ พยางค์ มีลักษณะเหมือนอักษรนำและอักษรควบของไทย เช่น แขนง จมูก ฉนำ (ปี) ไพร กระบือ ฉลอง ขลัง ไถง เสวย ขลาด
๘. คำ ๒ พยางค์ ที่ขึ้นต้นด้วย คำ กำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ และสามารถแผลงเป็นตัวอื่นได้ มักเป็นคำเขมร เช่น
คำรบ (ครบ) กำเนิด (เกิด) จำหน่าย (จ่าย)
จำแนก (แจก) ชำนาญ (ชาญ) ดำเนิน (เดิน)
ดำริ (ตริ) ตำรวจ (ตรวจ) > ทำนบ (ทบ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น